การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ปรารมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สุขแก้ว คำสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สวนีย์ เสริมสุข คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา, ทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม, รูปแบบการจัดการเรียนการสอน, การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน และ 3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนและความต้องการ 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3) แบบประเมินทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม ศึกษาในประชากรและกลุ่มตัวอย่างอาจารย์พยาบาลที่สอนเกี่ยวกับนวัตกรรมสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จำนวน 80 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ กำแพงเพชร จำนวน 39 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม อยู่ในระดับน้อย ความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาพยาบาลทำให้ได้ “TRIPAA Model” ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ฝึกทักษะการคิด (Thinking) ขั้นที่ 2 พิชิตปัญหา (Resolving) ขั้นที่ 3 พัฒนาความคิด (Idea Development) ขั้นที่ 4 ผลิตชิ้นงาน (Production) ขั้นที่ 5 ทำการประเมิน (Appraisal) ขั้นที่ 6 เพลิดเพลินเผยแพร่ (Advertisement) การประเมินมาตรฐานคุณภาพรูปแบบทุกด้านจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก และ 3 เมื่อนำรูปแบบฯ ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และทดสอบประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.80/86.20 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อส่งเสริมทักษะสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เรียกว่า TRIPAA Model ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานและประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

References

กิตติพงษ์ เกียรติวิภาค. (2560). เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญในงานออกแบบ. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities and Social Sciences. 18 (2), 254-266.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-20.

ณัฐพร อึ้งภาภรณ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบยูเลิร์นนิ่งรายวิชาศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (6 พฤศจิกายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1. หน้า 7-11.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4 (3), 50-58

รัตนะ บัวสนธ์. (2563). วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 11 (2), 1-11.

อัญชลี สารรัตนะ. (2554). การประเมินความต้องการที่จำเป็น (Needs Assessment) เพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 34 (1-2), 9-20

อุมาสวรรค์ ชูหา และคณะ. (2562). ผลิตพยาบาลอย่างไรให้ตอบโจทย์ผู้ใช้บัณฑิตในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายของอาจารย์พยาบาลไทย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 16 (2), 176-186.

Amelink, C. T., et al. (2013). Defining and Measuring Innovative Thinking among Engineering Undergraduates. 120th American Society for Engineering Education (ASEE) Annual Conference and Exposition. Atlanta, Georgia. 23rd-26th June. pp. 1-10.

Australian National Training Authority (ANTA). (2001). Innovation: Ideas that Work for Trainers of Innovation at Work Skills. Brisbane: Australian National Training Authority.

Chan, Zenobia C. Y. (2012). A Systemic Review of Creative Thinking/Creativity in Nursing Education. Nurse Education Today. 33 (11), 2343-2349. DOI:10.1016/j.nedt.2012.09.005

Desai, K. C. (2020). Cultivate the Habit of Innovative Thinking: To Strengthen Your Professional Career and Enhance Your Personality. New Delhi: New Delhi Publishers.

Joyce, B. and Weil, M. (2000). Model of Teaching, 6th ed. New Jercy: Principle Hall.

Kennith, R. (2014). The Teaching, Learning and Creativity (TLC) Model for Scince. School Science Review. 95 (353), 79-84.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Mosca, C. (2016). Using Constructivist Learning Theory to Create and Implement a Pilot Online Dosage Calculation Module. Journal of the New York State Nurses Association. 45 (1), 44-49.

Partnership for 21st Century Skills-Core Content Integration. (n.d.). Framework for 21st Century Learning. Retrieved September 2, 2020, from https://www.marietta.edu/sites/default/files/documents/21st_century_skills_standards_book_2.pdf

Treffinger, D. J., et al. (2010). Creative Problem Solving (CPS Version 6.1TM): A Contemporary Framework for Managing Change. Sarasota, Florida: Center for Creative Learning, Inc. and Orchard Park, New York: Creative Problem Solving Group, Inc.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-25