การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • รุ่งวิทย์ ตรีกุล คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จรินทร์ ฟักประไพ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, ศักยภาพการท่องเที่ยว, องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว, แหล่งท่องเที่ยวนอกเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด อันประกอบด้วยพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อการศึกษาร้อยเอ็ด และเจดีย์หินทรายวัดป่ากุง โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยประยุกต์จากแนวคิดองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวของบูฮาลิศ ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 480 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิธีการสกัดองค์ประกอบ และการหมุนแกนองค์ประกอบ แบบออโธกอนอลด้วยวิธีวาริแมกซ์

ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวแสดงความคิดเห็นต่อศักยภาพการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งมีลักษณะของศักยภาพ 3 กลุ่ม หรือแนวทาง P.I.M. ดังนี้ 1. ศักยภาพเป็นที่น่าพอใจ (P=Pleased) 2. การปรับปรุงศักยภาพ (I=Improved) และ 3. การสร้างศักยภาพ (M=Making) โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ ด้วยการสกัดองค์ประกอบหลักการหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า ศักยภาพทางการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน 19 ตัวชี้วัด โดยแต่ละองค์ประกอบอธิบายความแปรปรวนได้ คือ 14.278, 13.373, 11.611, 12.575, 8.667 ตามลำดับ ลดลง 2 ด้าน 5 ตัวชี้วัด องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยพบว่า การทราบศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้แนวทางในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ตามรูปแบบการจัดการศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวนอกเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดที่เรียกว่า TAPTU

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานประจำปี 2562 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. นนทบุรี: ภาพพิมพ์

คัชพล จั่นเพชร. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10 (2), 11-24.

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด. (ม.ป.ป.). ร้อยเอ็ด 1000 อวด. ร้อยเอ็ด: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด.

พรทิพย์ บุญเที่ยงธรรม. (2555). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ยุทธ์ ไกรวรรณ. (2557). วิเคราะห์สถิติหลายตัวแปร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยกสิกรไทย.

ศิริรักษ์ ยาวิราช และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดบริการ ตามความต้องการของนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาหมู่บ้านแม่สายป่าเมี่ยง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 19 (2), 126-135.

สุญาพร ส้อตระกูล และสุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2556). แนวทางการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสองแพรก จังหวัดพังงา. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 14 (3), 156-171.

อัจจิมา หนูคง และคณะ. (2559). การจัดการพิพิธภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 10 (2), 179-197.

อาทิตย์ แซ่ย่าง. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสเทพ-ปุย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานุภาพ จิรัฐติกาล. (2551). ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการท่องเที่ยวในเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 2 (1), 29-30.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management. 21 (1), 97-116. DOI:10.1016/S0261-51177 (99)00095-3

Enoch, Y. (1996). Contents of Tour Packages: A Cross-culture Comparision. Annals Tourism Research. 23 (3), 599-616. DOI:10.1016/0160-7389(96)00001-1

Kline, R. B. (2016). Methodology in the Social Sciences, 4th ed. New York: Guilford Press.

Littrell, M. A., et al. (2004). Senior Travaller: Tourism Activities and Shopping Behaviours. Journal of Vacation Marketing. 10 (4), 348-362.

Pike, S. (2008). Destination Marketing: An Integrated Marketing Communication Approach. Burlington; MA: Butterworth-Heinmann.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper and Row.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-13