การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน: บ้านน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ปานแพร เชาวน์ประยูร อุดมรักษาทรัพย์ คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พิรานันท์ จันทาพูน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
  • จริยา โกเมนต์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ, เศรษฐกิจชุมชน, เส้นทางท่องเที่ยว, จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพ 2) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) เสนอเส้นทางการท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพบ้านน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนในพื้นที่ จำนวน 30 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยในชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพ แบบสอบถาม และแนวทางการประชุมกลุ่มย่อย จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและใช้สถิติวิเคราะห์เชิงบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัย พบว่า 1) การท่องเที่ยวส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจที่สร้างรายได้แก่ท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพร่วมกับนักท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวของบ้านน้ำเกี๋ยนและในจังหวัดน่านมีศักยภาพต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระดับปานกลางถึงสูงมาก 2) ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 3.50; S.D.=0.68) และ 3) เส้นทางการท่องเที่ยวบนความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกลไกให้เกิดการขยายเครือข่ายชุมชนเข้มแข็ง ผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเป็นสินค้าและบริการที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนพื้นที่ในวงกว้าง องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การท่องเที่ยวสามารถพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนบนพื้นฐานของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และนักท่องเที่ยวยังได้รับความประทับใจ ความต้องการอนุรักษ์ การตระหนักรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชนท่องเที่ยวบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติบนความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (8 ธันวาคม 2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630

จิระนันท์ ชัยรัตนคำโรจน์ และพภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในจังหวัดน่าน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (11), 259-276.

เฉลิมชัย ปัญญาดี และคณะ. (2558). คู่มือหลักเกณฑ์ข้อกำหนดการบริการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

ฐาวร บุญราศรี. (2564). ถอดบทเรียนท่องเที่ยวชีวภาพตลาดบ้านบ้าน (Bio Tourism) by BEDO ปี 2, Bio Tourism. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

นงคราญ ไชยเมือง และสุตาภัทร คงเกิด. (2562). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบนฐานเศรษฐกิจชีวภาพ: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนชีววิถี ตำบลน้ำเกี๋ยน จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 13 (2), 10-25.

ปราโมทย์ ยอดแก้ว และวรัญญาภรณ์ ศรีสวรรค์นล. (2565). รูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเครือข่ายธุรกิจเซรามิก: กรณีศึกษาจังหวัดลำปาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10 (1), 336-350.

ปานแพร เชาวน์ประยูร และคณะ. (2559). โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรชุมชนในการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้ฯ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ภายใต้กิจกรรมศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. รายงานการวิจัย. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อม. (2562). Biodiversity Progress ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สื่อตะวัน.

วีระศิษฏ์ แก้วป่อง และทัศนาวลัย อุฑารสกุล. (2563). ปัจจัยทุนทางสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคมวัฒนธรรม และทุนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย. 19 (3), 79-96.

ศรีณัฐ ไทรชมภู และบุญเกียรติ ไทรชมภู (2558). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6 (2), 9-17.

ศรีณัฐ ไทรชมภู. (2556). การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทปราการ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 4 (2), 8-15.

สำนักงานจังหวัดน่าน. (20 ธันวาคม 2564). ข้อมูลทั่วไปและแผนพัฒนาของจังหวัดน่าน. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2565, จาก www.nan.go.th/upload/1617260755.pdf

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (20 ตุลาคม 2560). ศูนย์เรียนรู้การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565, จาก https://www.bedo.or.th/bedo/new-content.php?id=30

สินธุ์ สโรบล. (2556). เศรษฐกิจฐานชีวภาพ: องค์ความรู้และการจัดการโดยชุมชนในภาคเหนือตอนบน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุภัททิยา หล้าคำมี และคณะ. (2560). การศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันที่ 31 มกราคม. หน้า 296-306.

อัจฉรา ยะราไสย และคณะ. (2559). การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสังคม: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงเหียน จังหวัดมหาสารคาม. The National and International Graduate Research Conference 2016. Graduate School, Khon Kaen University, Thailand and Universitas Muhammadiyah Yogyakata, Indonesia. วันที่ 15 มกราคม. หน้า 919-930.

Baloch, Q. B., et al. (2022). Impact of Tourism Development upon Environmental Sustainability: A Suggested Framework for Sustainable Ecotourism. Environmental Science and Pollution Research. DOI: org/10.1007/s11356-022-22496-w

Chung, M. G., et al. (2018). Global Relationships between Biodiversity and Nature-based Tourism in Protected Areas. Ecosystem Services. 34 (December), 11-23. DOI:10.1016/j.ecoser.2018.09.004

Jones, P. (2022). Tourism and Biodiversity: A Paradoxical Relationship. Athens Journal of Tourism. 9 (3), 151-162. DOI:10.30958/ajt.9-3-2

Ninerola, A., et al. (2019). Tourism Research on Sustainability: A Bibliometric Analysis. Sustainability. 11 (5), 1377. DOI:10.3390/su 11051377

The European Union Business and Biodiversity Platform. (2010). Tourism Sector and Biodiversity Conservation: Best Practice Benchmarking. Brussels: IUCN European Union Representative Office.

Udomraksasup, P. C., et al. (2021). Biodiversity-based Tourism Management for Community Enterprise Groups, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Journal of Management Information and Decision Sciences. 24 (6S), 1-12.

#JSBS #TCI1 #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-14