รูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธในจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการ, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, วิถีพุทธบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา 2) ศึกษาสภาพการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธในจังหวัดพะเยา 3) เสนอรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธในจังหวัดพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 13 รูป/คน จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูล อภิปรายผลแล้วนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร
ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิดการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในจังหวัดพะเยา เพื่ออนุรักษ์วัตถุโบราณให้เป็นคลังสะสมภูมิปัญญาที่แสดงเอกลักษณ์ท้องถิ่น และปลูกฝังให้คนในท้องถิ่นเห็นความสำคัญของประวัติความเป็นมาของตน รวมทั้งให้เป็นแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) สภาพการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธในจังหวัดพะเยา ดังนี้ (1) ด้านบุคคล เป็นลักษณะคณะกรรมการที่วัดแต่งตั้งโดยมีโครงสร้างการบริหารงาน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและเจ้าอาวาสผู้มีอำนาจในการสั่งการ (2) ด้านการเงิน การจัดการยังไม่ชัดเจน ขาดงบประมาณสนับสนุน รายได้มาจากการบริจาค (3) ด้านอาคารสถานที่ การจัดแสดงเป็นสัดส่วนตามลักษณะเนื้อหา (4) ด้านการจัดการ การวางแผนอย่างเป็นระบบและปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม 3) รูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธในจังหวัดพะเยา ดังนี้ (1) ความมั่นคง ควรแต่งตั้งคณะกรรมการ การกำหนดหน้าที่และมอบหมายงานที่ชัดเจน งบประมาณบริหารจัดการที่ต่อเนื่อง และแผนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ (2) การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และชุมชนควรร่วมกันดูแลรักษา ภาครัฐและเอกชนควรสนับสนุนแหล่งทุน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งการมีเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (3) ความยั่งยืน บุคลากรควรมีความรู้ด้านภัณฑารักษ์ การวางแผนใช้งบประมาณ ความปลอดภัยในการเก็บรักษาวัตถุโบราณ โครงสร้างการบริหารจัดการ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย สำหรับองค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) ด้านคุณธรรมของผู้สร้างได้อาศัยหลักอิทธิบาท 4 ในการดำเนินงาน 2) ด้านการมีส่วนร่วม คนในชุมชนและหน่วยงานเกิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อดูแลรักษาและสนับสนุน 3) ด้านการใช้ทรัพยากรได้ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดบนพื้นฐานของความพอเพียง และเป็นไปตามศักยภาพที่ชุมชนมีอย่างเต็มที่และดีที่สุด 4) ด้านการบริหารจัดการมีการวางแผนงานและโครงสร้างการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ 5) ด้านการนำเสนอปริศนาธรรม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวิถีพุทธได้แสดงเนื้อหาประวัติพระพุทธศาสนาและหลักธรรมผ่านการจัดแสดงวัตถุต่าง ๆ อาทิ หลักอิทธิบาทและไตรลักษณ์
References
นรีวัลคุ์ ธรรมนิมิตโชค. (2550). รูปแบบของวัดที่เหมาะสมกับการเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปณิตา สระวาสี (2550). การก่อตัวของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นไทยในบริบทของนโยบายรัฐ (ตอนที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
ปนัฐพงศ์ นรดี. (2554). สรุปรายงาน เรื่อง Key Theories and Their Define (Management). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา.
ประภัสสร โพธิ์ศรีทอง. (19 มิถุนายน 2555). ปัญหาของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/398529
ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล และคณะ. (2547). โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ระยะที่ 1 สร้างเครือข่ายและสำรวจสภาพพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (โยธิน านิสฺสโร). (2557). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของวัดในจังหวัดพะเยา. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.
พิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ และคณะ. (2560). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 861-878.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4, 11, 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัชฎาพร เกตานนท์. (2556). การพัฒนารูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการสร้างความเข้มแข็งสู่ชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2551). พิพิธภัณฑ์และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
ศุภลักษณ์ รอดแจ่ม. (2557). การจัดการพิพิธภัณฑ์ของวัดในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). ตารางแสดงสถานะพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2565, จาก https://db.sac.or.th/museum/
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). ตอบเรื่อง พ.ร.บ.คณะสงฆ์, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
สมลักษณ์ เจริญพจน์. (2547). คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กราฟิคฟอร์แมท (ไทยแลนด์).
สุทัศน์ ฟังประเสริฐกุล. (2558). รูปแบบการบริหารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง กรณีศึกษา: พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านภัณฑารักษ์. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
อัจฉรานันท์ นิยมไทย. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดพรหมราช ตำบลตูม อำเภอปักรงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.