รูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดคดีลักทรัพย์ เรือนจำกลางเชียงใหม่
คำสำคัญ:
คดีลักทรัพย์, ผู้กระทำผิดซ้ำ, ผู้กระทำความผิดคดีลักทรัพย์, ผู้ต้องขังเด็ดขาด, รูปแบบการฟื้นฟูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 35 คน โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบกึ่งโครงสร้าง รวมถึงการสนทนากลุ่มจำนวน 10 คน โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาวิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเรือนจำกลางเชียงใหม่แล้วนำมาพัฒนารูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดคดีลักทรัพย์แบบบูรณาการ จากนั้น นำเสนอรูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดคดีลักทรัพย์เรือนจำกลางเชียงใหม่ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในเรือนจำกลางเชียงใหม่มี 2 ประเภท ได้แก่ (1) ผู้กระทำผิดครั้งแรก เป็นผู้กระทำผิดด้วยความจำเป็นหรือถูกกดดันตามสถานการณ์ และ (2) ผู้กระทำผิดซ้ำซากหรือมากกว่า 2 ครั้ง ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกลับไปก่อเหตุที่มีลักษณะเดิม 2. ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูแบบบูรณาการ เป็นการนำรูปแบบปัจจุบันมาพัฒนาใหม่โดยนำรูปแบบที่เกิดจากความต้องการของผู้ต้องขังในคดีลักทรัพย์มาศึกษา สัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรมจากการอบรมเพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเป็นกระบวนการและวิธีการรูปแบบใหม่ 3. การนำเสนอรูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้จากการพัฒนาตามกระบวนการที่ดำเนินการอบรมผู้ต้องขังคดีลักทรัพย์ซึ่งได้รูปแบบที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย คือ รูปแบบการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดคดีลักทรัพย์ที่มีการอบรมแก้ไขฟื้นฟูตามความต้องการของผู้ต้องขัง การทำกิจกรรมในการพัฒนาจิตใจและการช่วยเหลือเมื่อพ้นโทษออกไป
References
ณัฐชนน ธนานุรักษ์วงศ์. (2562). ปัญหาในการแบ่งแยกความผิดฐานลักทรัพย์กับความผิดฉ้อโกง. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นภษร รัตนนันทชัย และคณะ. (2563). กระบวนการการพัฒนาสันติภาวะของผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ: กรณีศึกษาเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (3), 882-896.
นัทธี จิตสว่าง. (2540). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.
นิมิต ทัพวนานต์. (2561). การพัฒนาแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังไร้ญาติ. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ผู้ให้ข้อมูลหลักคนที่ 1. (2564). นักทัณฑวิทยาชำนาญการเรือนจำกลางเชียงใหม่. สนทนากลุ่ม. 10 พฤศจิกายน.
ผู้ให้ข้อมูลหลักคนที่ 2. (2564). นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานปฏิบัติการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เขต 19 จังหวัดเชียงใหม่. สนทนากลุ่ม. 10 พฤศจิกายน.
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2550). ทฤษฎีการแก้ปัญหาและแนวปฏิบัติพื้นฐาน. วารสารการศึกษาไทย สวัสดิการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 4 (30), 41-45.
ระพีพร หิมะคุณ ศรีสมบัติตระกูล. (2559). แนวทางการบริหารงานคุมประพฤติเชิงพื้นที่โดยการแบ่งเขตพื้นที่เพื่อดำเนินงานคดีสอดส่องฟื้นฟูและการจัดกิจกรรมแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและบูรณาการประสานจับกุมผู้กระทำผิดเงื่อนไข. รายงานการวิจัย. สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดสระแก้ว กรมคุมประพฤติ.
วรปพัฒน์ มั่นยำ และศุภกร ปุญญฤทธิ์. (2563). สาเหตุและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในคดีลักทรัพย์: กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 6 (3), 74-83.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2539). หลักกฎหมายอาญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
อัคคกร ไชยพงษ์ และคณะ. (2561). แนวทางการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังในเรือนจำคดีความมั่นคงจังหวัดชายแดนใต้. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 11 (2), 83-95.
Maltz, M. D. (2001). Recidivism. Orlando, Florida: Academic Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.