การศึกษาเชิงวิเคราะห์บันทึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา

ผู้แต่ง

  • พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส (คำเชื้อ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูวรวรรณวิฑูรย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สุเทพ สารบรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บันทึกโบราณ, พระพุทธศาสนา, พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาพรวมโครงสร้างและเนื้อหาบันทึกของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาปราชญ์เมืองพะเยา 2) เพื่อศึกษาบันทึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา 3) เพื่อวิเคราะห์บันทึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) บันทึกของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญามีจำนวน 9 เล่ม ภาษาที่ใช้เป็นภาษาล้านนา โดยเขียนพรรณนาแบบร้อยแก้ว ส่วนที่เป็นร้อยกรองพบในเล่มที่ 9 วัตถุประสงค์ของการบันทึกเป็นการบันทึกงานคณะสงฆ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 4 ด้าน และบันทึกเหตุการณ์ประจำวันที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับงานคณะสงฆ์ โครงสร้างและเนื้อหามี 2 ลักษณะ คือ (1) บันทึกประจำวันจะขึ้นต้นด้วยการเขียนวันเดือนปีกำกับแล้วจึงเข้าสู่เนื้อหา (2) บันทึกเกี่ยวกับความรู้หรือเทศนาธรรมจะขึ้นต้นด้วยเนื้อหาและตอนท้ายเป็นการกล่าวถึงเจตนารมณ์ในการบันทึก 2) การบันทึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามีเนื้อหาด้านกิจการคณะสงฆ์ 4 ด้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ประกอบด้วยงานด้านการปกครอง งานด้านการศึกษา งานด้านการเผยแผ่ และงานด้านสาธารณูปการ 3) วิเคราะห์บันทึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ตามหลักวิจยหาระพบว่า เนื้อหาการบันทึกเป็นไปตามหลักการตีความของวิจยหาระ 6 ข้อ คือ ปทวิจยะ ปัญหาวิจยะ วิสัชชนาวิจยะ อัสสาทวิจยะ อาทีนววิจยะ นิสสรณวิจยะ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยสามารถสรุปได้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในล้านนา 2) ด้านกิจการพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ 4 ด้าน และ 3) ด้านภาษา โดยเฉพาะพัฒนาการของการใช้ภาษาล้านนาในสมัยนั้นที่ปรากฏในบันทึกเหล่านี้

References

กิจชัย วงศ์ราช. (2561). ศึกษาวิเคราะห์พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรฯ (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ตามแนวเทสนาหาระ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก). (21 ธันวาคม 2558). การประชุมสัมมนาเรื่องการจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ 11. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.mow.thai.net/?p=269

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2557). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูไพศาลปริยัติกิจ. (2558). ปารมีกูฏ: การปริวรรต การชำระและการศึกษาวิเคราะห์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีวรพินิจ และคณะ. (2563). ทัศนะวิชาการต่อผลงานของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

พระมหากัจจายนะ. (2550). เนตติปกรณ์. พระคันธสาราภิวงศ์. (ผู้แปล). พิมพ์เนื่องในโอกาสมงคลอายุ 87 ปี พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: ไทยรายวันการพิมพ์.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้ในเทศกาลต่าง ๆ ของล้านนา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์. (2562). ประวัติศาสตร์เมืองพะเยา. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2552.) สู่แดนพุทธภูมิ. กรุงเทพมหานคร: เค. เอส. พี. การพิมพ์.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2559). ล้านนาวิถีทัศน์: ปทัสถานสังคมคุณภาพ. เชียงใหม่: FLU Graphic Design Printing.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ และคณะ. (2560). การสืบค้นและอนุรักษ์เอกสารคัมภีร์โบราณของวัดในจังหวัดพะเยาและการสร้างแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มรดกความทรงจำของประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ฐานข้อมูลมรดกความทรงจำ. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565, จาก http://mow.nat.go.th/Search

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 10, 20, 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิมล ปิงเมืองเหล็ก และคณะ. (2561). บันทึกโบราณของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาเมืองพะเยา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 3 (2), 158-166.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2558). ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สันติ เตชอัครกุล. (2552). ตามรอยบาทพระพุทธองค์. กรุงเทพมหานคร: เจ.ซี.การพิมพ์.

สุภีร์ ทุมทอง และคณะ. (2564). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์ สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 7 (1), 78-94.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30