รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูวรวรรณวิฑูรย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พงษ์ประภากรณ์ สุระรินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การส่งเสริมคุณภาพ, ครอบครัว, พุทธบูรณาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของครอบครัวตัวอย่างในจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของครอบครัวตามหลักพระพุทธศาสนา 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก 27 รูป/คน จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเขียนสรุปผลการวิจัยในรูปแบบการเขียนเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะครอบครัวในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนมากเป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขนาดเล็ก โดยแนวโน้มครอบครัวคนเดียวและครอบครัว 2 คน มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก สำหรับครอบครัวในจังหวัดพะเยามีการเปลี่ยนแปลงทั้งจำนวนโครงสร้างของขนาดครอบครัวและจำนวนประชากร กล่าวคือ ในอดีตเป็นครอบครัวขยาย ส่วนปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว นอกจากนั้น บางพื้นที่ยังเป็นครอบครัวข้ามรุ่น คือ ตายาย/ปู่ย่าและหลานอยู่รวมกัน 2) คุณภาพของครอบครัวตามหลักพระพุทธศาสนามี 2 ประการ คือ (1) คุณภาพครอบครัวที่พึงประสงค์ทั่วไป ได้แก่ ต้นแบบจากพ่อแม่ที่มีหลักของการอยู่ร่วมกันของสมาชิก มีวิธีการแก้ปัญหา รู้จักการเรียนรู้ร่วมกัน (2) คุณภาพครอบครัวในพระพุทธศาสนา คือ การเข้าถึงศาสนา เข้าใจหลักคำสอนและนำไปปฏิบัติได้จริง 3) รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการมี 2 ประการ คือ (1) การส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวด้านความมั่นคง เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาท ความรุนแรง การหย่าร้าง โดยมีแนวทางการส่งเสริม ดังนี้ 1.1 การเลือกคนเป็นคู่ครองตามหลักสมชีวิธรรม พิจารณาจากอุปนิสัย วัยวุฒิ สุขภาพร่างกาย จิตและอารมณ์ ความเชื่อ ความประพฤติ ความเสียสละและสติปัญญาให้มีความเท่าเทียมกันหรือเหมือนกัน 1.2 การศึกษาเรียนรู้และเข้าใจหลักการที่ดีเพื่อครอบครัวด้วยการทำตามแบบอย่างที่ดีและฟังคำแนะนำของบิดามารดา 1.3 ความมั่นคงหนักแน่นตามหลักฆราวาสธรรม คือ จริงใจ ฝึกฝน ทนได้ ให้ปัน 1.4 ความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนและอยู่ในโอวาท ดูแลเลี้ยงดูบิดามารดา ช่วยเหลือกิจการ แบ่งเบาภาระ รักษาชื่อเสียงวงค์ตระกูล และประพฤติตนเป็นคนดี (2) การส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวด้านความมั่งคั่งเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ตามแนวทางหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ คือ ความขยัน เก็บออมรักษาทรัพย์สินอย่างรัดกุม รู้จักคบหาเพื่อนที่ดี อยู่อย่างพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การได้รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวด้านความมั่นคงในชีวิตครอบครัว โดยการบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา รวมถึงแนวคิดของผู้มีประสบการณ์ในการครองเรือนที่ดี 2. การได้รูปแบบการส่งเสริมคุณภาพของครอบครัวด้านความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจด้วยการประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อการสร้างความมั่งมี ความร่ำรวยและเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัว

References

กลุ่มนโยบายและวิชาการ สำนักงานพัมนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา. (2564). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดพะเยา ประจำปี 2564. พะเยา: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพะเยา.

คาสปาร์ พีค และคณะ. (2558). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทยยุคเกิดน้อย อายุยืน. สุนทร เจริญทัศน์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ฉัฐวีณ์ สิทธิ์ศิรอรรถ. (2559). การศึกษาความผูกพันต่อครอบครัวของนักเรียนเตรียมทหาร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (1), 1-17.

พระครูนิรมิตสังฆกิจ (นินนาท ธมฺมนาโท). (2562). พุทธศาสตร์: การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7 (3), 287-298.

พระครูนิวิฐศีลขันธ์ และคณะ. (2563). วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (6), 2128-2137.

พระครูสิรธรรมานุยุต. (อภิรมย์ พลชะนะ). (2562). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการครองเรือนในครอบครัวไทยปัจจุบัน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (3), 1397-1414.

พระมหายศวิภรณ์ เปมสีโล และคณะ. (2561). การบูรณาการหลักฆราวาสธรรมกับการปฏิบัติตนของครอบครัวไทยยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 3 (2), 44-62.

พูนสุข มาศรังสรรค์. (2559). การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 4 (1), 221-242.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2557). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 18, พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 15, 21, 23, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และฐิติรัตน์ ทับแก้ว. (2557). การพัฒนาแนวทางการลดความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อป้องกันการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนไทย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 22 (2), 15-27.

ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร. (2562). บทบาทของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการขับเคลื่อนโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ: เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วันที่ 1-2 พฤศจิกายน. หน้า 155-173.

วศิน อินทสระ. (2527). ธรรมและชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กมลการพิมพ์.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562ก). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยในปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562ข). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. (2563). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานทั่วราชอาณาจักร ประจำปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กระทรวงแรงงาน.

อุทัย บุญประเสริฐ (2529). การศึกษากับการพัฒนาและความสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศ. สระบุรี: โรงพิมพ์ปากเพรียวการช่าง.

Bronfenbrenner, U. and Morris, P. (2006). The Bioecoloigical Model of Human Development. In Lerner, R. M. and Damon, W. (eds.). Handbook of Child Psychology Vol. 1: Theorectical Models of Human Development, 5th ed. (pp. 793-828). New York: Wiley.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21