รูปแบบการส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อ

ผู้แต่ง

  • พระครูวิจิตรพิพัฒนโกศล (สุเวศน์ หอมนาน) หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระราชปริยัติ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูวรวรรณวิฑูรย์ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การส่งเสริมประเพณี, พระพุทธศาสนา, ชาวไทลื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้ออำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้ออำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้ออำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่ชุมชนไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้ออำเภอเชียงคำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) ประเพณีตามปฏิทินไทลื้อ (2) ประเพณีตามโอกาสสำคัญ 2) สภาพปัจจุบันของการส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อได้รับการส่งเสริม ดังนี้ (1) ภาครัฐ ในด้านงบประมาณ (2) ภาคเอกชน ในด้านการสนับสนุนโรงทานอาหาร-น้ำดื่ม (3) ภาคประชาชน ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ (4) สถาบันการศึกษา ในด้านการนำสาระของประเพณีจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น 3) รูปแบบในการส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อประกอบด้วย (1) การสร้างความตระหนัก ให้สมาชิกในชุมชนรู้ถึงคุณค่าของประเพณี (2) การมีส่วนร่วมของชุมชน โดยการเปิดโอกาสร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมดำเนินการ (3) การถ่ายทอดความรู้ โดยอาศัยพระสงฆ์ ปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความรู้เกี่ยวกับประเพณี เป็นผู้ถ่ายทอด (4) การวางแผนและพัฒนาทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนารูปแบบของประเพณีให้เหมาะสมกับยุคสมัย โดยคงอัตลักษณ์ที่ดีงามของประเพณีไว้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การเกิดพลังการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน 2) การสร้างจิตสำนึกแก่สมาชิกในชุมชนให้รู้คุณค่าของประเพณีที่ดีงาม ร่วมอนุรักษ์และสืบทอด 3) กุศโลบายในการส่งเสริมคุณธรรมและเปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมได้แสดงออกถึงความเสียสละ ความสามัคคีของหมู่คณะ รวมทั้งได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

References

กฤติยา สมศิลา และกนกกานต์ แก้วนุช (2561). ปัจจัยการมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (1), 103-123.

ดาริกา โพธิรุกข์ (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม: ศึกษากรณีมรดกทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในหมู่บ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 39 (3), 42-51.

พระครูสุภัทรพรหมคุณ (เจริญ คำประเสริฐ) (2564). บทบาทผู้นำชาวไทลื้อในการส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 6 (2), 341-363.

พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล (2561). บทบาทเยาวชนในประเพณีแห่เทียนพรรษา: บทสะท้อนช่องว่างของกระบวนการเรียนรู้และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (1), 77-90.

พระมหาสังคม ชยานนฺโท (2563). กระบวนการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอีสาน: ศึกษากรณีบุญแห่กระธูปของชุมชน อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development. 5 (6), 160-174.

พระราชปริยัติ (สายัน อรินฺทโม). (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธกระบวนทัศน์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมของชาวไทลื้อในล้านนา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 10 (1), 57-70.

รัตนาพร เศรษฐกุล. (2537). ความเชื่อและพิธีกรรมของไทย-ไทที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้านศึกษากรณีลื้อ. ใน เอกสารรวมบทความความเชื่อและพิธีกรรม: ภูมิปัญญาชาวบ้านไทย-ไท เอกสารหมายเลขที่ 11. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

ศิราพร ณ ถลาง. (2545). ชนชาติไทในนิทาน: แลลอดแว่นคติชนและวรรณกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10