พุทธวิธีการจัดการความต้องการของมนุษย์

ผู้แต่ง

  • นภาพร หงษ์ทอง หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูศรีวรพินิจ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูวรวรรณวิฑูรย์ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ความต้องการของมนุษย์, พุทธวิธี, ตัณหา, ฉันทะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการของมนุษย์ในแนวคิดทฤษฎีทั่วไป 2) ความต้องการของมนุษย์ในทางพระพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์แนวทางจัดการความต้องการของมนุษย์โดยพุทธวิธี เป็นการวิจัยเอกสารโดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร

ผลการวิจัย พบว่า (1) แนวคิดทฤษฎีทั่วไปมองว่า มนุษย์ต้องการสิ่งตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานเพื่อความอยู่รอดในชีวิต รวมทั้งความต้องการทางจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อมต่างกันไป และการจัดการความต้องการโดยเพิ่มการตอบสนองความต้องการให้มากขึ้นกับลดความต้องการให้น้อยลง (2) พระพุทธศาสนากล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ในฝ่ายดีเรียกว่า ฉันทะ ฝ่ายไม่ดีเรียกว่า ตัณหา และฝ่ายกลาง ๆ เรียกว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ สาเหตุการเกิดความต้องการอธิบายตามหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากการมีอวิชชาเป็นฐานและเกิดขึ้นในกระบวนการรับรู้ จึงหลงไปยึดมั่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน และผลักดันให้มนุษย์ดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ต้องการทุกวิถีทาง นำมาซึ่งความทุกข์ไม่สิ้นสุด ส่วนฉันทะเกิดจากการรับรู้ด้วยปัญญา ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ไม่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่นำความดีงาม ความสุขและประโยชน์ที่แท้จริงมาสู่ชีวิต (3) แนวทางจัดการความต้องการของมนุษย์โดยพุทธวิธี ได้แก่ (1) การจัดการตามทางสายกลาง (2) การจัดการตามธรรมชาติของมนุษย์อย่างสมดุล (3) การจัดการโดยเริ่มที่ตัวเองไปสู่ผู้อื่นหรือสิ่งอื่น และ (4) การจัดการตามจุดหมายของชีวิต การนำเสนอองค์ความรู้จากการวิจัย คือ พุทธวิธีการจัดการความต้องการของมนุษย์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ใช้ชีวิตให้พอดี ยกวิถีแห่งจิต มุ่งชีวิตอุดมปัญญา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีชีวิตที่มีดุลยภาพ อยู่ในโลกสมัยใหม่ได้อย่างราบรื่นและมีความสุขในวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนาใน 3 ระดับ คือ รื่นรมย์ ร่มเย็น เป็นอิสระ

References

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. (2557). กระบวนการปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กัลยาณี เสนาสุ. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขของคนไทย. รายงานการวิจัย. สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์. (2562). แนวคิดของพุทธทาสภิกขุกับการออกมาจากวัตถุนิยม. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 3 (2), 171-194.

จำลอง ดิษยวณิช. (2541). พุทธศาสนากับจิตเวชศาสตร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 43 (3), 266-291.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2564). หลักพุทธจริยศาสตร์. เชียงใหม่: โพธิบัณณ์.

เปลโต้. (2534). เฟโด (วาระสุดท้ายของโสกราตีส), พิมพ์ครั้งที่ 6. ส. ศิวรักษ์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: ปาจารยสาร.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). พุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี). (2554). ปราณการอ่านคือลมหายใจ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ปราณ.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556). สุขที่ได้ธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

พุทธทาสภิกขุ. (2552). คู่มือมนุษย์ของพุทธทาสภิกขุ. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500 เล่ม 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 15, 19, 25, 31. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไมเคิล คีย์ธิง. (2537). แผนปฏิบัติการ 21 เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: สรุปสาระสำคัญของ Agenda 21 ในเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา. มานพ เมฆประยูรทอง. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ.

ลิวอิส เอ. โคเซอร์. (2533). แนวความคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยา ตอนคาร์ล มาร์กซ์. จามะรี พิทักษ์วงศ์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

วศิน อินทสระ. (2554). ปัญหาน่าสนใจทางพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดา.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2540). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). มองดู ฉันทะ-ตัณหา ไล่มาตั้งแต่เจงกิสข่าน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์ และคณะ. (ม.ป.ป.). ความสุข: กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการพัฒนาและนโยบายสาธารณะ, บทสรุปจากการสังเคราะห์งานประชุมนานาชาติ เรื่องความสุขและนโยบายสาธารณะ วันที่ 18-19 กรกฎาคม 2550 กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.happysociety.org/EN/paper/paper09.pdf

อำนาจ ยอดทอง. (2558). ศึกษาวิเคราะห์ความอยากในฐานะเป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 3 (1), 1–22.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28