บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดลำปางตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พัชรีญา ฟองจันตา หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สหัทยา วิเศษ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สมยศ ปัญญามาก หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บทบาทของสตรี, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, จังหวัดลำปาง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของบทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วยสตรีนักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์และพระพุทธศาสนา สตรีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กลุ่มสตรีหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และกลุ่มสตรีผู้นำ จำนวน 21 คน จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีอุปนัยและใช้วิธีตีความสร้างข้อสรุปข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดลำปาง ได้แสดงความสามารถมากขึ้น สตรีมีบทบาทในการใช้สิทธิเสรีภาพ ยกย่องให้มีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายมากขึ้น 2) ปัญหาและอุปสรรคของบทบาทสตรีส่วนมากเกิดจากครอบครัวในฐานะแม่บ้าน มุมมองสตรีเป็นเพศที่อ่อนแอ อ่อนโยน ขาดความน่าเชื่อถือ 3) การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการพัฒนาบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีที่เป็นผู้ละเอียดอ่อนด้วย “ทาน” รู้จักการให้ การเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น “ปิยวาจา” รู้จักใช้วาจาถ้อยคำที่สุภาพและถ้อยคำที่มีประโยชน์เหมาะสมกับกาลเทศะ “อัตถจริยา” รู้จักสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน ประพฤติตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น และ “สมานัตตตา” รู้จักยึดมั่นในความถูกต้อง มีความเป็นกลาง การสร้างความเสมอภาค และความประพฤติดีเสมอต้นเสมอปลาย องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ สตรีมีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความละเอียดอ่อน จิตอาสาและความเสียสละตามหลักสังคหวัตถุ 4 สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้สตรีมีบทบาทในการมีส่วนร่วมในการเมืองเพิ่มขึ้น

References

เกศรา สว่างวงศ์. (2564). อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง และผู้ประเมินภายนอก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). สัมภาษณ์. 28 สิงหาคม.

ขวัญฤทัย จ่างจำรัส. (2541). มองบทบาทผู้หญิงไทยบนเส้นทางการเมืองผ่านสายตาผู้นำองค์กรพัฒนาสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิตรลดา มาเร็ว. (2564). นักการเมืองกลุ่มการเมืองท้องถิ่นและเลขานุการนายกเทศมนตรีตำบลพิชัย. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.

เจริญ วิเชยันต์. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเทศบาลตำบลวังดิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัฐรินทร์ เฉลิมฤทธิวัฒน์. (2559) การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เดือนนพัทธ์ แก้วภูบาล. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นริสา ทองประสิทธิ์. (2564). ที่ปรึกษากลุ่มพลังลำปาง. สัมภาษณ์. 21 ธันวาคม.

พาที ชัยนิลพันธุ์. (2558). สุภาพสตรีกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีศึกษาแขวงกาวิละ เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เพ็ญภัค รัตนคำฟู. (2564). นายกเทศบาลตำบลเกาะคา. สัมภาษณ์. 3 กันยายน.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุวดี บํารุงบุตร. (2557). วิเคราะห์การเสริมสร้างชุมชนสันติสุขของอาสาสมัครการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดปทุมธานีตามหลักสังคหวัตถุ 4. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ เครือคำขาว. (2564). ผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 5 สิงหาคม.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. (2551). สตรีกับการเมือง. นนทบุรี: โรงพิมพ์ธรรมดาเพลส.

สยมพร ศิรินาวิน. (2564). ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง และประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 1. สัมภาษณ์. 21 ธันวาคม.

สุกฤตา จินดาพรม และโชติมา แก้วกรอง. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วารสารการเมืองการปกครอง. 3 (2), 118-133.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อนงค์รัตน์ โรจน์สุรัญกิจ. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของสตรีในเขตเทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อนัญญา พงษ์ไพรัตน์. (2560). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 กับการบริหารงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานธุรการโรงเรียนอนุบาลหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-08