การพัฒนาการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระตะวัน ขนฺติพโล (เกิดมูล) หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม, การบริหารจัดการ, สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดลำปาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม 2) เพื่อศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติกรรมฐานของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเขียนบรรยายเชิงพรรณนา 

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดมีศักยภาพการบริหาร ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการมีการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ด้านวิปัสสนาจารย์ได้แนะแนวทางปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร ด้านสถานที่ เป็นพื้นที่สัปปายะ 2. หลักสูตรและแนวปฏิบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) การปฏิบัติธรรมในรูปแบบการบวช 2) การอบรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระยะเวลาสั้นเพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านกาย จิตใจและปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่การขัดเกลาจิตใจ ปลูกฝังให้เกิดความอดทน ข่มใจตนเองให้เว้นจากอบายมุขและสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง 3. วิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการ ได้แก่ 1) ความพร้อมสำนักปฏิบัติธรรม 2) สถานปฏิบัติธรรมมีความสัปปายะ 3) กิจกรรมเหมาะสม 4) กิจกรรมมีความยืดหยุ่น 5) พระวิปัสสนาจารย์มีความรู้ที่หลากหลาย 6) ความร่วมมือกับชุมชน และ 7) ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติธรรม องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า ผู้ปฏิบัติธรรมมีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ นอกจากนี้ สถานปฏิบัติธรรมยังบริหารจัดการสถานที่ พระวิปัสสนาจารย์ กิจกรรมและเวลาได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยในการสอนได้อย่างดี

References

ฉันทนา กล่อมจิต. (2546). รูปแบบการจัดการศึกษาและเผยแพร่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดป่าบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย. สำนักงานเลขาธิการการศึกษา.

เฉลิมเกียรติ สง่าศรี. (2549). การพัฒนาบุคลากรครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านแกนทราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระครูนนทกิจโกศล (สิริชัย สิริชโย) และคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการความรู้ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (4), 1429-1438.

พระชาตรี ฐิตเมโธ (วงษ์สกิจ). (2551).ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานภาคเหนือ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม). วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานพดล สุวณฺณเมธี. (2565). เจ้าคณะอำเภอวังเหนือ เจ้าอาวาสวัดบรรพตสถิต ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 1 กุมภาพันธ์.

พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต (แสงแก้ว). (2546). การศึกษาเปรียบเทียบแนวการปฏิบัติกัมมัฏฐานของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหารุ่งเรือง รกฺขิตธมฺโม (ปะมะขะ). (2549). ผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน: ศึกษากรณีเยาวชนผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรณชัย มหาปุญฺโญ. (2556). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในยุคโลกาภิวัตน์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมถวิล ปภาโส (อิหนิม). (2561). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในเขตกรุงเทพมหานคร ตามหลักสัปปายะ 7. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิชชุกร ติสรโณ (ก้องแดนไพร). (2557). ความพึงพอใจต่อการบริหารสํานักปฏิบัติธรรมประจําจังหวัดสิงห์บุรีแห่งที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต และคณะ. (2562). ความพึงพอใจของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการจัดปฏิบัติธรรมของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม. 2 (2), 1-10.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โสดิตา จันทบุญ. (2565). นักจัดการงานทั่วไป องค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 21 มีนาคม.

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-17