กระบวนการยุติธรรม: สถาบันตุลาการของคณะสงฆ์ไทย
คำสำคัญ:
กระบวนการยุติธรรม, สถาบันตุลาการ, คณะสงฆ์ไทยบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ โดยวิเคราะห์ผ่านกฎมหาเถรสมาคมและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 เพื่อให้ได้มาซึ่งลักษณะการปกครองของคณะสงฆ์ ระบบศาล พยานหลักฐานและการแสวงหาความจริงในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์ รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองกับระบบตุลาการคณะสงฆ์ อันกล่าวถึงระบบการรวมอำนาจ คือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการ เข้าไว้ในตำแหน่งเจ้าคณะปกครองเพียงตำแหน่งเดียว ซึ่งเจ้าคณะปกครองจะมีอำนาจบริหาร ในขณะเดียวกันก็สามารถออกคำสั่งทางการปกครอง และทำหน้าที่ตุลาการคณะสงฆ์โดยตำแหน่งพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ การปกครองหรือการพิจารณาคดี รวมถึงการลงนิคหกรรม (ลงโทษ) พระภิกษุ จึงเป็นไปเพื่อการรักษาเสถียรภาพทางอำนาจในการปกครองมากกว่าการพิจารณาอย่างตรงไปตรงมา องค์ความรู้ใหม่ คือ การแยกอำนาจตุลาการออกจากเจ้าคณะปกครองให้แก่รองเจ้าคณะปกครอง ซึ่งถือว่า เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าคณะปกครองได้ ถือเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าคณะปกครองและเพิ่มบทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้แก่รองเจ้าคณะปกครองมากขึ้น การถ่ายโอนอำนาจนั้นอาจเป็นไปได้ยาก แต่หากมีการผลักดันจากเจ้าคณะปกครองและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
References
กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์. (2559). พฤติกรรมอาชญากรในมุมมองทางจิตวิทยา: ศึกษากรณีทฤษฎีบุคลิกภาพ คดี Nathan Leopold และ Richard Loeb. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2 (3), 318-392.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2553). คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา. กรุงเทพมหานคร: พลสยาม.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์ และไพบูลย์ ชูวัฒนกิจ. (2560). ความจริงในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย: มุมมองทางกฎหมายในวรรณกรรมเรื่องรากบุญของช่อมณี. วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 10 (2), 23-46.
ไทยรัฐออนไลน์. (6 ธันวาคม 2561). รวบพระปลอมเสพยา เรี่ยไรเงินกลางตลาด. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=gf7swxU4EKg
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.
พระมหาเสาร์คำ ธมฺมธีโร และภัสนันท์ พ่วงเถื่อน. (2563). หลักธรรมาภิบาลในกระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์. 9 (1), 135-147.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (5 มีนาคม 2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 16. หน้า 5-11.
เรื่องเล่าเช้านี้. (9 กันยายน 2562). พระในคลิปกระชากหัวสีกา ดีกรีเจ้าอาวาสวัดเมืองชล ทนแรงกดดันไม่ไหว ขอลาสิกขาแล้ว. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=Gvlh6wJ9pdo
สถาบันพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. (2549). นิติศาสตร์ไทยเชิงวิพากษ์. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
สุวัณชัย ใจหาญ. (2530). คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร: มิตรนราการพิมพ์.
อุดม รัฐอมฤต. (2558). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
เอกวิทย์ มณีธร. (2556). รัฐศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม.พี.เพรส.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.