สาเหตุและปัจจัยของกีฬากอล์ฟที่มีบทบาทต่อผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง

ผู้แต่ง

  • พรพล รัตนพันธุ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กีฬากอล์ฟ, ผู้นำทางสังคม, ผู้นำทางธุรกิจ, ผู้นำทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้กีฬากอล์ฟมีบทบาทในแวดวงสังคมธุรกิจและการเมือง และเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างกีฬากอล์ฟ ทุนทางสังคม ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารที่เล่นกอล์ฟเป็นเวลามากกว่า 3 ปี จำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า 1) กีฬากอล์ฟช่วยให้เข้าใจถึงบุคลิกและสภาพจิตใจของผู้เล่น การวางแผนและการควบคุมอารมณ์ซึ่งช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ยังสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ ช่วยให้มีโอกาสได้พบผู้คนที่มีหลากหลายอาชีพ 2) ความเกี่ยวข้องระหว่างกีฬากอล์ฟกับทุนทางสังคมมีดังนี้ (1) การรับข่าวสารและการสื่อสารทำให้มีการแลกเปลี่ยนและได้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์มากขึ้น (2) การสร้างกิจกรรมและความร่วมมือทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้น ส่วนความเกี่ยวข้องระหว่างกีฬากอล์ฟกับระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย คือ ระบบอุปถัมภ์เกิดขึ้นจากจิตสำนึก ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ มิตรสหาย ระบบอาวุโส และความต้องการผลประโยชน์ ดังนั้น กีฬากอล์ฟอาจเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในการเล่นกีฬากอล์ฟให้กับเยาวชน เพื่อเป็นพื้นฐานทุนทางสังคมและเพื่อเสริมสร้างบุคลิก สภาพจิตใจ ช่วยในการวางแผนและการควบคุมอารมณ์ และควรนำกีฬากอล์ฟมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เช่น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านกีฬากอล์ฟให้มีความเป็นรูปธรรมและให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด

References

กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2557). การศึกษาระบบอุปถัมภ์กับปัญหาสังคมไทย: การประยุกต์ใช้ของนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 23 (1), 177-197.

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และคณะ. (2563). ระบบอุปถัมภ์กับปัญหาความยากจนในประเทศไทย. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 2 (3), 1-14.

ธีรวุฒิ ก่ายแก้ว. (2556). การสร้างเครือข่ายทางสังคม: กรณีศึกษานักฟุตบอลสมัครเล่นในกลุ่มกรุงเทพเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัณณธร ไม้เจริญ. (2561). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของเครือข่ายแฟนฟุตบอลไทยกรณีศึกษา: เครือข่ายแฟนบอลทีมสุพรรณบุรี เอฟซี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงศธร ธนบดีภัทร. (22 พฤศจิกายน 2564). ทำไมนักธุรกิจชอบตีกอล์ฟ. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://www.blockdit.com/posts/619b86973c98fe07f41863a0

พระครูวาทีธรรมวิภัช และคณะ. (2563). ระบบอุปถัมภ์กับอำนาจการต่อรองของพรรคการเมือง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (5), 62-71.

พิเชษฐ์ ณ นคร. (14 ธันวาคม 2561). ระบบ “อุปถัมภ์” ในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-264642

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2561). จากไทยแลนด์คัพสู่โปรวินเชียลลีกพลวัตของ “จังหวัดนิยม” และพลังของระบบอุปถัมภ์ในกีฬาฟุตบอลไทย. วารสารสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 15 (1), 8-41.

ยุทธการ ขาววรรณา. (2552). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาเรือพายของนักกีฬาเรือพายในประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สินาด ตรีวรรณไชย. (14 มกราคม 2548). ทุนทางสังคม: ความหมายและความสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2005/01/2262

ศิริวัฒนา บุรพรัตน์. (2556). การรับรู้ของนักกอล์ฟต่อประสบการณ์ในสนามกอล์ฟ กรณีศึกษา สนามกอล์ฟเขาทรายคันทรีคลับ. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

#JSBS #TCI1 #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-01