การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเชตวัน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วิภาภรณ์ กอนแก้ว หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • อำนาจ จันทร์แป้น หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วารุณี โพธาสินธุ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สื่อประสม, ทักษะการออกเสียง, ทักษะการเขียน, ภาษาไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเชตะวัน 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยก่อนและหลังการใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเชตวัน เป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเชตวัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน เครื่องมือในการศึกษาประกอบด้วย 1. แผนการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 แผนการเรียนรู้ จำนวน 20 ชั่วโมง และ 2. แบบทดสอบการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานจากค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ

ผลการศึกษา พบว่า 1) การสร้างแผนการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จำนวน 20 แผนการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทย ก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 40.79 และหลังเรียนมีคะแนน 54.00 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 13.21 คิดเป็นร้อยละ 22.02 โดยสามารถแยกวิเคราะห์ทักษะด้านการออกเสียงและด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยพบว่า ด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาไทยก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 27.21 หลังเรียนมีคะแนนเท่ากับ 36.00 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 8.79 คิดเป็นร้อยละ 21.96 ส่วนด้านการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยก่อนเรียนมีคะแนนเท่ากับ 13.57 หลังเรียนมีคะแนนเท่ากับ 18.00 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า มีคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับ 4.43 คิดเป็นร้อยละ 22.14 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยให้ถูกต้องตามหลักการออกเสียงที่ถูกต้อง มาตราตัวสะกดละ 10 คำ จำนวน 19 มาตรา รวมจำนวน 190 คำ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน 3) ขั้นฝึกทักษะ 4) ขั้นสรุปส่งผลให้นักเรียนมีทักษะการออกเสียงและการเขียนคำศัพท์ภาษาไทยสูงขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กานต์ อุทัยทัศน์. (2551). การพัฒนาสื่อประสมสนับสนุนการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จำเนียร มัชฌิมา. (2553). ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ชุดสื่อประสม. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงเยาว์ จิตต์ภักดี. (2551). ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้. พัทลุง: โรงเรียนควนพระสาครินทร์.

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2542). การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ต้นอ้อ.

ภัตตินันท์ สายนาค. (2554) การใช้แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราแม่กนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มยุรา อมรวิไลกุล. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดาพร บัวดก. (2546). การใช้แบบฝึกการออกเสียงและการเขียนคําที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาภรณ์ สิงห์คำ. (2553). การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชาวไทยภูเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้สื่อประสม. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสาวลักษณ์ สำเนียง. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัจฉรา เจตบุตร. (2554). การพัฒนาบทเรียนสื่อประสมเรื่องการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Harris, A. J. and Sipay, E. R. (1990). How to Increase Reading Ability: A Guide to Developmental & Remedial Methods. New York: Longman.

Meyers-Levy, J. and Maheswaran, D. (1991). Exploring Differences in Males’ and Females’ Processing Strategies. Journal of Consumer Research. 18 (1), 63-70.

#JSBS #TCI1 #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-12