การเสริมสร้างคุณค่าผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • จันทิมา แสงแพร คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดสุวัฒน์ สุวฑฺฒโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์กาญจนบุรี ศรีไพบูลย์
  • พระมหาบุญศรี ญาณวุฑฺโฒ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างคุณค่า, ผู้สูงอายุ, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุ โดยนำหลักอายุวัฒนธรรมมาวิเคราะห์ร่วมกับลำดับขั้นความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์ ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นแนวทางการเสริมสร้างคุณค่าผู้สูงอายุให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพและมีความสุขในภาวการณ์ปัจจุบัน รายละเอียดในบทความได้กล่าวถึงแนวคิดการเสริมสร้างคุณค่าผู้สูงอายุตามแนวคิดของมาสโลว์ คุณค่าของผู้สูงอายุกับพระพุทธศาสนา หลักอายุวัฒนธรรมหลักธรรมส่งเสริมการมีอายุยืน และผลการวิเคราะห์การเสริมสร้างคุณค่าผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนา จากเนื้อหาดังกล่าวทำให้ได้องค์ความรู้ใหม่ คือ FEDAS Model ประกอบด้วย (1) F-Fundamental หมายถึง ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ความบริบูรณ์ของอาหาร ที่อยู่อาศัยมีความปลอดภัย สภาพแวดล้อมน่าอยู่และการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้ง่าย (2) E-Earning หมายถึง การมีรายได้หลังเกษียณ (3) D-Digestion หมายถึง การรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย (4) A-Accepted หมายถึง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวและคนในสังคมที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ (5) S-Sikkhā หมายถึง การพัฒนาจิต เจริญปัญญาตามหลักไตรสิกขา เป็นแนวทางการส่งเสริมให้เกิดคุณค่าแก่ผู้สูงอายุตามแนวพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น

References

กรมสุขภาพจิต. (13 ตุลาคม 2563). ก้าวย่างของประเทศไทยสู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). สรุปสาระสำคัญแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

จินตนา ยูนิพันธ์. (2551). ทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์. (2556). สุขภาวะดีได้อย่างไรเมื่อสูงวัย: การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (ม.ป.ป.). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (31 ธันวาคม 2546). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก. หน้า 1-8.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 10, 14, 22, 23, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 25. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561ก). ถ้าสูงอายุเป็น ก็น่าเป็นผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: เจริญมั่นคงดีการพิมพ์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561ข) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ดัชนีพฤฒิพลังผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

อภันตรี สาขากร. (ม.ป.ป.). เสริมสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565, จาก https://www.manarom.com/blog/improving_self_esteem.html

Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review. 50 (4), 370–396.

Urbinner. (16 ตุลาคม 2564). ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565, จาก https://www.urbinner.com/post/maslow-hierarchy-of-needs#viewer-2hbj4

#JSBS #TCI1 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-01