นโยบายการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • พระนิทัศน์ วงศ์วังเพิ่ม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พระสุริยา หงส์ชุมแพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • พระทัน แฝงสะโด มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ไพรัช พื้นชมภู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • สมเกียรติ ดวงศิริ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า จังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

นโยบายการให้บริการ, การบริการประชาชน, สังคหวัตถุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษานโยบายการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 2) เปรียบเทียบการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางนโยบายการให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองหว้า อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 4,801 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 369 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามลักษณะแบบให้เลือกตอบแบบมาตราส่วนประมาณค่าที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจงความถี่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

ผลการวิจัย พบว่า 1) นโยบายให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( gif.latex?\bar{X}=4.10; S.D.=0.74) 2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ระดับเพศ อายุและระดับการศึกษามีผลต่อความคิดเห็นต่อนโยบายการให้บริการประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะต่อนโยบายให้บริการประชาชน คือ เจ้าหน้าที่ควรเอาใจใส่การให้บริการด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อเวลา คิดเป็นร้อยละ 4.55 รองลงมา คือ เจ้าหน้าที่ควรตรวจสอบเอกสารเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยและแนะนำให้ประชาชนได้ คิดเป็นร้อยละ 3.79 และเจ้าหน้าที่ควรพูดชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจด้วยความสุภาพอ่อนน้อม คิดเป็นร้อยละ 2.78 องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การนำหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 มาประยุกต์ใช้ในการให้บริการประชาชนของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนถิ่นเพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจต่อการเข้ารับบริการในด้านต่าง ๆ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น: วิสัยทัศน์กระจายอำนาจและการบริหารงานท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน.

ดนัย วงศ์อมรอัครพันธ์. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสภาทนายความตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างและการรวบรวมข้อมูล, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บีแอนด์บี.

ปณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2552). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรกมล ชูนุกูลพงษ์. (2554). การให้บริการประชาชนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2544). ธรรมปริทรรศน์, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธนพร คุณสมฺปนฺโน (อาคะนิช) และคณะ. (2539). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. งานวิจัยปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 82. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย.

พระมหาสุรศักดิ์ สติสมฺปนฺโน (พันธ์จันทร์). (2553). ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาตามหลักสังคหวัตถุ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระยุทธภูมิ ธมฺมธโร (สังชาดี). (2553). การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามความคิดเห็นของประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (17 พฤศจิกายน 2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก. หน้า 48-66.

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์กรบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. (2 ธันวาคม 2537). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก. หน้า 11-35.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2540). ธรรมะสร้างเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-29