การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อรอนุตร ธรรมจักร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การสะท้อนคิด, ความคิดสร้างสรรค์, นวัตกรรมการสอนภาษาไทย, นักศึกษาวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการพัฒนาความคิดด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย 2) ศึกษาความสามารถด้านการคิดด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ซึ่งลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การออกแบบและผลิตสื่อการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปีการศึกษาที่ 2564 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอน 2) แบบวัดความสามารถด้านการคิด 3) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย มีความคิดสร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีความสามารถด้านการคิดสูงขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมด้านความคิดริเริ่มสูงขึ้น 1.04 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 46.1 ด้านความคิดคล่องสูงขึ้น 1.29 คิดเป็นร้อยละ 55.6 ด้านความคิดยืดหยุ่นสูงขึ้น 1.07 คิดเป็นร้อยละ 50.0 และด้านความคิดละเอียดลออสูงขึ้น 1.26 คิดเป็นร้อยละ 54.8 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยวิธีการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาไทย ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.66; S.D.=0.51) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการสะท้อนคิดจากการปฏิบัติ ผู้สอนควรฝึกให้ผู้เรียนคิดทบทวนด้วยการสะท้อนคิดอย่างมีขั้นตอน เพื่อส่งเสริมการต่อยอดความคิดในสิ่งเดิมที่มีอยู่หรือพัฒนาปรับปรุงสิ่งเดิมนั้นให้ดีขึ้น ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ใคร่ครวญสะท้อนคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยทฤษฎีหรือแนวคิดที่เป็นไปได้ ให้ผู้เรียนเห็นมุมมองที่หลากหลาย และยอมรับที่จะแก้ไขและเผชิญปัญหา จนได้ข้อสรุปบนเหตุผลที่ถูกต้อง จะทำให้ได้นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปได้โดยง่าย

References

กนกนุช ชื่นเลิศสกุล. (2544). การเรียนรู้โดยผ่านการสะท้อนคิด: การศึกษาและการปฏิบัติการพยาบาล ในคลินิก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 9 (2), 35-48.

กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์. (2561). การสะท้อนคดิของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กาญจนา ธานะ และศิริรัตน์ นิตยวัน. (2556). รายงานการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค ต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสะท้อนคิด รายวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน (พบ. 281) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

เกริก ท่วมกลาง และคณะ. (2555). การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊ค.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่: ทฤษฎี แนวปฏิบัติและผลการวิจัย. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์ และคณะ. (2561). การสะท้อนคิด: จากประสบการณ์ที่ล้ำค่าสู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 12 (1), 102-110.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และเยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2557). คู่มือแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflection). ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.

ปาริฉัตร บุญต้อม. (2557). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการสะท้อนคิดของผู้เรียนและการให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สอนในการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อการสร้างสรรค์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกของนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิศมัย อำไพพันธุ์. (7 พฤษภาคม 2549). ความคิดสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2565, จาก http://kampolhall.blogspot.com/2012/09/dinhin-7.html

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2557). ความคิดสร้างสรรค์กับนักประดิษฐ์. สสวท. 42 (186), 37-39.

Anderson, R. D., et al. (1970). Developing Children Thinking through Science. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Barber, M. (2009). The Challenge of Achieving World Class Performance: Education in the 21st Century. Minneapolis: n.p.

Benton, C. W. (2014). Thinking about Thinking: Metacognition for Music Learning. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield Education.

Haynes, C. (n.d.). Experiential Learning: Learning by Doing. Retrieved September 2, 2018, from https://www.niu.edu/citl/resources/guides/instructional-guide/experiential-learning.shtml

Johnson, S. (2010). Where Good Ideas Come from: The Natural History of Innovation. New York: Riverhead Books.

Kim, K. H. (2011). The Creativity Crisis: The Decrease in Creative Thinking Scores on the Torrance Tests of Creative Thinking. Creativity Research Journal. 23 (4), 285-295.

Knowles, J. G., et al., (1994). Through Preservice Teachers' Eyes: Exploring Field Experiences through Narrative and Inquiry. New York: Merrill.

Pappas, P. (5 January 2010). A Taxonomy of Reflection: Critical Thinking for Students, Teachers, and Principals. Retrieved February 28, 2022, from https://peterpappas.com/2010/01/reflective-student-taxonomy-reflection-.html

Razdorskaya, O. V. (2015). Reflection and Creativity: The Need for Symbiosis. International Conference “Education, Reflection, Development.” Cluj-Napoca, Romania. 3-4 July. pp. 433-438.

Schön, D. A. (1987). Educating the Reflective Practitioner: Toward a New Design for Teaching and Learning in the Professions. San Francisco, California: Jossey-Bass.

Torrance, E. P. (1972). Creative Learning and Teaching. New York: Book Mead Company.

Turpin, M. and Higgs, J. (2017). Clinical Reasoning and Evidence-based Practice. In Hoffmann, T., et. al. (eds.). Evidence-based Practice Active across the Health Professions, 3rd ed. (pp. 364-383). Chatswood, New South Wales: Elsevier.

Wong, F. K. Y., et al., (1997). An Action Research Study into the Development of Nurses as Reflective Practitioners. Journal of Nursing Education. 36 (10), 476-481.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-14