การสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนก สมควร หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วีระ วีระโสภณ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บัว ศรีคช หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ วิทยาลัยการจัดการอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

โรงแรมขนาดเล็ก, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความเชื่อมั่น, มาตรฐานการให้บริการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรฐานการให้บริการ ความเชื่อมั่นในการให้บริการที่มีต่อลูกค้า และนำเสนอแนวทางการสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนในการปฏิบัติตามการสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรงเทพมหานคร จำนวน 14 คน และการประชุมกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) มาตรฐานการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร ควรศึกษาด้านความเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ การตอบสนอง การให้ความรู้และทักษะในการบริการของพนักงานในองค์กร การเข้าถึงการบริการ การให้บริการรองรับเหมาะสม การติดต่อสื่อสาร ความปลอดภัย การควบคุมพนักงานภายในองค์กร การเอาใจใส่และให้ความสำคัญแก่ลูกค้า การเตรียมความพร้อมสำหรับให้บริการ 2) ความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กควรเน้นความปลอดภัย การควบคุมพนักงานภายในองค์กรและการเข้าถึงการบริการ 3) แนวทางการสร้างมาตรฐานความเชื่อมั่น ดังนี้ (1) ความปลอดภัย (2) การควบคุมพนักงานภายในองค์กร (3) การเข้าถึงการบริการ (4) การให้ความรู้และทักษะในการบริการของพนักงานในองค์กร (5) ความเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ (6) การให้บริการรองรับเหมาะสม (7) การเอาใจใส่และให้ความสำคัญแก่ลูกค้า (8) การเตรียมความพร้อมสำหรับให้บริการ (9) การตอบสนอง (10) การติดต่อสื่อสาร องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า มาตรฐานทั้ง 10 ข้อ สามารถพัฒนาทักษะการบริการของพนักงานในองค์กร ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและการให้บริการ และเป็นการปรับเปลี่ยนมาตรฐานโรงแรมขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

กรุงเทพธุรกิจ. (26 ตุลาคม 2564). ผลกระทบและการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม/ร้านอาหารช่วงวิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/967949

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://bit.ly/34hKL0I

ขวัญชนก สุวรรณพงศ์. (2563). คุณภาพการบริการของโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 6 (2), 44-56.

ดารณี อาจหาญ และสันติธร ภูริภักดี. (2564). กลยุทธ์การตอบสนองภาวะวิกฤตของ ธุรกิจโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส โควิด-19. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (4), 82-97.

เดชชาติ โกพลรัตน์ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการให้บริการลูกค้าของผู้ประกอบการโรงแรมราคาประหยัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16 (1), 32-44.

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม. (13 พฤศจิกายน 2564). เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดและเริ่ม Restart. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://bit.ly/35xJgvL

นันทิกานต์ ศรีสุวรรณ์ และคณะ. (2564). มาตรฐานความปลอดภัยของธุรกิจโรงแรมและที่พักในจังหวัดเชียงใหม่ หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด “การยกระดับงานวิจัยสู่นวัตกรรม”. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วันที่ 17-18 มิถุนายน. หน้า 168-186.

พรรณิภา ซาวคำ. (2559). กลยุทธ์การบริหารจัดการภายในโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมขนาดเล็ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (1), 89-104.

มติชนออนไลน์. (11 มกราคม 2565). ททท. เตรียมพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วยมาตรฐาน SHA Extra Plus. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3126054

วิไลวรรณ วะปะแก้ว และยุภาพร ยุภาศ. (2564). การท่องเที่ยวไทยแลนด์แดนสยามยุคโควิด. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6 (3), 719-732.

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. (2564). ประเทศไทยเปิดโมเดล “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” รับชาวต่างชาติ 1 กรกฎาคม 2564. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30 (เพิ่มเติม 1), S1-S2.

สุรชาติ บัวชุม และคณะ. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มรับจ่ายเงินดิจิทัลในธุรกิจท่องเที่ยว. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ. 2 (2), 86-99.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

อุดม สมบูรณ์ผล. (2564). การจัดการคุณภาพการบริการและภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำโรงแรมขนาดเล็กของนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 7 (2), 197-207.

Thaiontours Team. (22 กุมภาพันธ์ 2565). โรงแรม SHA Plus (SHA+) และ SHA Extra Plus (SHA++) ใน จังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://thaiontours.com/thailand/thailand-sha-plus-hotels

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28