การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, ขวัญกำลังใจ, ศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์, สังคมอุดมคติบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและศึกษาแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์งานของศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ในสังคมอุดมคติ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์นาฏยศิลป์และเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัย ซึ่งทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลประเภทเอกสาร การใช้ประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย การสัมภาษณ์ การใช้สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนาและเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์แบ่งเป็น 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) บทการแสดง ซึ่งมีแนวคิดมาจากปัจจัยตรงกันข้ามต่อการสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยพบว่าประกอบด้วย 6 องก์ ได้แก่ การสนับสนุน อิจฉาริษยา การใส่ร้ายป้ายสี การคัดลอกผลงาน การดองงาน และการขัดแข้งขัดขา (2) นักแสดง ต้องมีความรู้ความเข้าใจทางด้านนาฏยศิลป์และทักษะทางด้านการแสดงละคร (3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้ลีลาการเคลื่อนไหวแบบมินิมอลลิสม์ ลีลาการเคลื่อนไหวแบบในชีวิตประจำวัน ลีลานาฏยศิลป์ตะวันออกและลีลานาฏยศิลป์ตะวันตก (4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง เน้นความเรียบง่ายและสื่อสารได้ง่าย (5) เสียงและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง โดยจะประพันธ์เพลงขึ้นใหม่เพื่อสื่อความหมายและสื่ออารมณ์ของการแสดง (6) เครื่องแต่งกาย ใช้เครื่องแต่งกายชุดสูทแบบสากลนิยม (7) พื้นที่การแสดง นำเสนอการแสดงบนพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ลักษณะโรงละคร และ (8) แสง ใช้แสงที่สื่อถึงอารมณ์ในการนำเสนอเรื่องราวและความรู้สึก 2) แนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์มี 6 ประการ ได้แก่ (1) การคำนึงถึงการสร้างขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน (2) การคำนึงถึงการสะท้อนภาพของสังคมโดยผ่านนาฏยศิลป์ (3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ (4) การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ (5) การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์และทัศนศิลป์ และ (6) การคำนึงถึงความหลากหลายของรูปแบบการแสดง องค์ความรู้ใหม่ในการวิจัย คือ การได้ต้นแบบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนสังคมและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์ได้มีขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ยอมรับ และยังเป็นประโยชน์ต่อศิลปินทางด้านนาฏยศิลป์นำไปประยุกต์ใช้สำหรับการออกแบบการแสดงงานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์
References
กุลนาถ พุ่มอำภา. (2564). อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. สัมภาษณ์. 7 พฤศจิกายน.
ธำมรงค์ บุญราช. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากคำวิจารณ์คุณสมบัติการเป็นนาฏยศิลปินของนราพงษ์ จรัสศรี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2564). กรรมการหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 30 พฤศจิกายน.
นัฏภรณ์ พูลภักดี. (2562). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากเทคนิคมายากล. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฏภรณ์ พูลภักดี. (2564). ประธานสาขาวิชาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. สัมภาษณ์. 31 ตุลาคม.
พรรณพัชร์ เกษประยูร. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความไม่สมบูรณ์ในกระบวนการคัดเลือกศิลปินระดับชาติทางด้านนาฏยศิลป์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา แสงแดง. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงจริยธรรมทางการวิจัยนาฏยศิลป์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา แสงแดง. (2564). อาจารย์ประจำสาขาสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. สัมภาษณ์. 31 ตุลาคม.
ภคพร หอมนาน. (2561). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรากรณ์ ชยากโร. (2554). การวิเคราะห์เรื่องแนวคิดสังคมอุดมคติในทัศนะของพระธรรมปิฎก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเกียรติ ศรีสุวรรณเตมี. (2544). การเปิดรับสื่อและขวัญกำลังใจของพนักงานธนาคารไทยธนาคารจำกัด (มหาชน) หลังการควบรวบกิจการ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุระเกียรติ รัตนอำนวยศิริ. (2564). อาจารย์พิเศษและนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.