การศึกษาความพึงพอใจการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมธรเดโช ฐิตเตโช (สำเร็จ) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคเชิงสำรวจโดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจของการใช้งานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่มีระดับความพึงพอใจในด้านการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.57; S.D.=0.54) 2) ด้านการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.54; S.D.=0.55) 3) ด้านการเก็บรักษาข้อมูล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=3.44; S.D.=0.57) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) ด้านการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้องค์ความรู้ 5 ประการ คือ (1) รู้ระบบ (2) ลดการซ้ำซ้อน (3) เข้าใจงานสารบรรณ (4) สร้างระบบการแจ้งเตือน (5) ตรวจสอบได้  2) ด้านการรับส่งข้อมูลได้องค์ความรู้ 4 ประการ คือ (1) การรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว (2) สร้างระบบให้มีเสถียรภาพ (3) ประสิทธิภาพในการสืบค้นดี (4) เชื่อมโยงระบบกับอีเมลผู้ส่ง-ผู้รับ และ 3) ด้านการเก็บรักษาข้อมูลได้องค์ความรู้ 3 ประการ คือ (1) ความปลอดภัยในการเข้าถึงของข้อมูล (2) การป้องกันการสูญหายของข้อมูล (3) การเชื่อมโยงข้อมูลเก่าได้

References

ปริวัฒน์ จันทร์ทรง และคณะ. (2564). การวิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการเกษียนหนังสือสั่งการผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรณีตัวอย่างหนังสือราชการภายใต้ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 5 (2), 126-142.

พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์ และสารภี สหะวิริยะ. (2562). ปัญหาการใช้งานระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2564-2568. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://www.mbu.ac.th/mbuplan64-68/

วรรณภรณ์ รัตนโกสุม. (2564). การศึกษาทัศนคติ สภาพปัญหาและพฤติกรรมการใช้งานในการรับ-ส่งหนังสือราชการด้วยระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ของบุคลากร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานการวิจัย. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สาคร สมเจริญ และคณะ. (2563). การศึกษาระบบให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 9 (2), 253-266.

สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2560). การพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนเอกสารงานสารบรรณ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6 (1), 137-145.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อารีรัตน์ มีเย็น และคณะ. (2561). การพัฒนาระบบการจัดการเอกสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วันที่ 8 มิถุนายน. หน้า 1904-1918.

Lieophairot, S, et al. (2021). Factors That Influence the Loyalty of a Business Customer Using a Package Delivery Service in Thailand: A Conceptual Model. Palarch’s Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology. 18 (3), 133-146.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-02