ปัจจัยสนับสนุนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาจีน และการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้คงอยู่ตลอดหลักสูตร ในเครือมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา แซ่โก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การเรียนภาษาจีน, ปัจจัยสนับสนุน, การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาภาษาจีน และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้คงอยู่ตลอดหลักสูตรการศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน ระดับปริญญาตรี ในเครือมหาวิทยาลัยราชภัฏ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนสาขาวิชาภาษาจีน ผลความคิดเห็นต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้คงอยู่ตลอดหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =3.96; S.D.=0.76) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 7 พบว่า อยู่ในระดับมากเช่นกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย (1) ภาพลักษณ์ของสถาบัน (2) หลักสูตร (3) อาจารย์ผู้สอน (4) สื่อและอุปกรณ์ (5) สวัสดิการและการบริการ (6) การประชาสัมพันธ์ (7) ค่านิยม โดยระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านอาจารย์ผู้สอน 2. ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=3.78; S.D.=0.77) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 5 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนดังกล่าว ประกอบด้วย (1) สิ่งอำนวยความสะดวก (2) การบริการด้านกายภาพ (3) การบริการด้านการให้คำปรึกษา (4) การบริการแหล่งข้อมูล (5) การจัดโครงการพัฒนาประสบการณ์ทางวิชาชีพ โดยระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการบริการด้านให้คำปรึกษา องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ทำให้ผู้สอนเข้าใจความต้องการของผู้เรียน ช่วยในการออกแบบสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ท่ามกลางความหลากหลายของผู้เรียน ตลอดจนลดความเสี่ยงการพ้นสภาพของนักศึกษาตลอดหลักสูตรการศึกษา

References

กิจวัฒน์ ธนวิศาล. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเรียนภาษาจีนกลางของผู้เรียนในสถาบันวิทยสถานแห่งวัฒนธรรมตะวันออก เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ใจชนก ภาคอัต. (2556). ปัจจัยด้านการพัฒนาคุณภาพของสถาบันที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. รายงานการวิจัย. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พชร แสงแก้ว. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการเลือกเรียน หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. เวชบันทึกศิริราช. 9 (1), 17-23.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชตนันท์ หมั่นมานะ และรุจาภา แพ่งเกษร. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ. 4 (2), 627-639.

วริษฐ์ ลิ้มทองกุล. (2552). ภาษาจีนกับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: บ้านพระอาทิตย์.

วีซานา อับดุลเลาะ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 227-246.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2560). การศึกษาเหตุผลในการเลือกเรียนและทัศนคติที่มีต่อการเรียนภาษาจีนกลางของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแมโจ. วารสารสุทธิปริทัศน์. 31 (97), 63-75.

เสาวลักษณ์ ปัญญาภาส. (2556). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษา หลักสูตรปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อุทัยวรรณ เฉลิมชัย. (2553). การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน. วารสารวิชาการสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 10 (3), 7-11.

#JSBS #TCI1 #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-23