การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พระมหาปวรภัฏฐ์ ภทฺทโมลี (งามการ) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สหัทยา วิเศษ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูโสภณปริยัติสุธี หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ธรรมาธิปไตย, ชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา 2) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยาจำนวน 23 คน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกข้อมูล จัดกลุ่มข้อมูล และสังเคราะห์แบบแผนความสัมพันธ์แล้วนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาสังเคราะห์หาความเชื่อมโยงระหว่างกันของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในแต่ละประเด็น

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนในชุมชนเขตเทศบาลเมืองพะเยามีความตื่นตัวเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยหน่วยงานภาครัฐเปิดโอกาสให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งในลักษณะของการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมทำสิ่งที่มีผลกระทบต่อตนเองหรือชุมชน 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองมีความหลากหลาย จำแนกได้ 4 รูปแบบ คือ (1) แบบโดยตรง (2) แบบตัวแทนหรือโดยอ้อม (3) แบบมีส่วนร่วม (4) แบบถกแถลง 3) แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนในชุมชนเทศบาลเมืองพะเยาจำเป็นต้องมีหลักธรรมกำกับเพื่อให้มีจิตสำนึกสาธารณะ เป็นเงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชน และต้องเกิดจากความเต็มใจและความตั้งใจของประชาชนที่จะเข้าร่วม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้แนวทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตย 3 ด้าน คือ 1) ด้านธรรมฐิติ คือ ผู้ปกครองต้องเป็นผู้มีคุณธรรม 2) ด้านธรรมนิติ คือ ระบบที่เป็นธรรม 3) ด้านธรรมมติ คือ แนวคิดที่เป็นธรรม

References

คณะอนุกรรมการจัดทำสารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ. (2558). สารานุกรมการเมืองไทยสำหรับเยาวชน เล่มที่ 3 เรื่อง การเมืองไทยในบริบทความเชื่อมโยงกับภาคส่วนอื่น. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

จันทนา สุทธิจารี. (2544). การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ วี.เจ พริ้นติ้ง.

ธีรยุทธ บุญมี. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นาย ค. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 22 สิงหาคม.

นาย ฌ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม.

นาย ญ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 23 สิงหาคม.

นาย ฐ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 24 สิงหาคม.

นาย ด. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 30 สิงหาคม.

นาย ธ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 23 สิงหาคม.

นาย น. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 30 สิงหาคม.

นาย ผ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 30 สิงหาคม.

นาย ฟ. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 23 สิงหาคม.

นาย ล. (2564). ผู้ให้ข้อมูลหลัก. สัมภาษณ์. 27 สิงหาคม.

นิยม เวชกามา. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนชาวสกลนครตามแนวพุทธจิตวิทยา. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2554). สิทธิเสรีภาพ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมศักดิ์ แก้วมรกฎ. (2560). วัฒนธรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของวัยรุ่นในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2526). ข่าวสารการเมืองของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). คำวัด: พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2551). ธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: โพสต์บุ๊กส์.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2546). หลักการพัฒนาชุมชน และหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: ไทยอนุเคราะห์ไทย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2554). การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2541). ทฤษฎีพัฒนาการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Suyaprom, S. (2017). The Study of Citizenship for Democracy Promotion in Locality. Journal of MCU Social Science Review. 6 (2), 85-100.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-14