การพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • มานิตย์ กันทะสัก หลักสูตรพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • อมลณัฐ กันทะสัก นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ศิลปะชุมชน, ขยะรีไซเคิล, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และวิเคราะห์รูปแบบนวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ศึกษาเอกสาร ปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 40 คน ในพื้นที่บ้านเซี้ยะ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา และบ้านโป่ง (สันขี้เหล็ก) อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปสาระสำคัญและนำเสนอแบบเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการพัฒนานวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ (1) กระบวนการต้นน้ำ เป็นการสำรวจบริบทชุมชน ประชุมสร้างความเข้าใจ ระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางสร้างสรรค์ศิลปะชุมชน จัดตั้งนักวิจัยชุมชน และออกแบบศิลปะชุมชน (2) กระบวนการกลางน้ำ เป็นการเตรียมวัสดุอุปกรณ์และปฏิบัติการสร้างสรรค์ศิลปะชุมชน และ (3) กระบวนการปลายน้ำ เป็นการสรุปบทเรียนนักวิจัยชุมชน และสร้างพื้นที่สาธารณะศิลปะชุมชน โดยจัดแสดงผลงานนวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล ประติมากรรมและผลิตภัณฑ์กังหันดอกขี้เหล็ก และประติมากรรมนกยูง  2) รูปแบบของนวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล ได้แก่ รูปแบบที่สะท้อนลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น รูปแบบที่สะท้อนงานศิลปะแบบพื้นบ้าน รูปแบบที่สะท้อนปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และรูปแบบที่สะท้อนจิตสำนึกสาธารณะในการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ใหม่ องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นวัตกรรมศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิล เป็นกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชนอย่างมีส่วนร่วมที่เกิดจากองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันของชุมชน ศิลปิน สิ่งแวดล้อมและสังคม

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟพริ้นท์.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสถานการณ์มลพิษในประเทศไทยปี 2563. กรุงเทพมหานคร: สไตล์ครีเอทีฟเฮ้าส์.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (Community Based Solid Waste Management; CBM). กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2534). องค์ประกอบแห่งศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ตา ใจทิพย์. (2564). ปราชญ์ชาวบ้านบ้านโป่งสันขี้เหล็ก ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 24 กันยายน.

ประพันธ์ แก้วมณี. (2564). ผู้ใหญ่บ้านบ้านโป่ง (สันขี้เหล็ก) ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 24 กันยายน.

มานิตย์ กันทะสัก. (2561). งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ “พระพุทธรูปพร้าโต้: แนวคิด คุณค่า ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ของกระบวนการสร้างสรรค์ พระพุทธรูปไม้ในล้านนาสู่การเรียนรู้ของสังคม. การประชุมวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม ระดับชาติครั้งที่ 1 “ความมั่นคงด้านศิลปวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21”.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วันที่ 11 มิถุนายน. หน้า 82-90.

มานิตย์ กันทะสัก. (2562). The Power of Art: กระบวนการสร้างสุขภาวะทางสังคม กรณีศึกษาแมงสี่หูห้าตาของเมืองเชียงราย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานิตย์ กันทะสัก. (2564). อาจารย์สาขาวิชาพุทธศิลป์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 24 กันยายน.

มานิตย์ โกวฤทธิ์. (2563). การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ นรสิงห์. (2564). ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งสันขี้เหล็ก ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 24 กันยายน.

สมศักดิ์ พรมจักร. (2561). การลดภาวะโลกร้อนตามโครงการรีไซเคิลโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ อาศัยการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2564). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดในล้านนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 6 (2), 319-339.

สายชล โอชะขจร. (10 พฤศจิกายน 2563). นำยางรถยนต์เก่ามาเพิ่มมูลค่าทำกระถางปลูกต้นไม้ลายตุ๊กตาสร้างรายได้งาม. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก https://www.77kaoded.com/news/saichol/2031372

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2563). อริยสัจวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (3), 1-28.

หมวก สะสาง. (2564). ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเซี้ยะ ตำบลจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 4 สิงหาคม.

อัศวิณีย์ หวานจริง. (2561). ศิลปกรรมกระจกสะท้อนวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นบนผนังวิหารวัดท่าข้าม (วัดชัยชนะ) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจิตรศิลป์. 9 (2), 190-237.

อำไพ ศรีธิเลิศ. (2564). ประธานคุ้ม บ้านโป่งสันขี้เหล็ก ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. สัมภาษณ์. 24 กันยายน.

SCG Circular Way. (29 ตุลาคม 2562). จากขยะสู่งานศิลป์ หลังม่านแรงบันดาลใจของ เอ๋-วิชชุลดา. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/circular-way-projects/from-waste-to-art/

SCG Circular Way. (7 กรกฎาคม 2563). การจัดการขยะในชุมชน จากสิ่งของไร้ค่าเปลี่ยนความหมาย สร้างรายได้สู่ชุมชน. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2564, จาก https://www.scg.com/sustainability/circular-economy/global-thailandpractices/convert-waste-into-income/

The Cloud. (22 สิงหาคม 2562). บทสัมภาษณ์เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของแฟนเพจ ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก https://readthecloud.co/three-wheels-uncle/

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-09