การประเมินความเสี่ยงอัคคีภัยในศาสนสถานด้วยเทคนิคแผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลว: กรณีศึกษาวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นันทิรา วรกาญจนบุญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงอัคคีภัย, ศาสนสถาน, แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุพื้นฐานของการเกิดเพลิงไหม้ในศาสนสถานด้วยเทคนิคแผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลว และประเมินความเสี่ยงด้วยเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยศึกษาวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคแผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลว

ผลการวิจัย พบว่า การวิเคราะห์แผนภูมิต้นไม้แห่งความล้มเหลวในพื้นที่พระอุโบสถพบความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้ทั้งสิ้น 11 สถานการณ์ และเมื่อนำทั้ง 11 สถานการณ์ไปประเมินความเสี่ยงพบระดับความเสี่ยงอยู่ 4 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับความเสี่ยงยอมรับไม่ได้ 1 สถานการณ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากไฟฟ้าลัดวงจร 2) ระดับความเสี่ยงสูง 1 สถานการณ์ มีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า 3) ระดับความเสี่ยงยอมรับได้ 5 สถานการณ์ มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของนักท่องเที่ยวและไฟฟ้าสถิต และ 4) ระดับความเสี่ยงเล็กน้อย 4 สถานการณ์ สาเหตุมาจากการจัดเก็บเชื้อเพลิงและระบบระบายอากาศ ส่วนการประเมินความเสี่ยงโดยการศึกษาภายในวัดบางพลีใหญ่ใน มีระดับความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้และระดับเสี่ยงสูงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ ดังนั้น จึงต้องดำเนินการแก้ไขจุดที่เป็นจุดเสี่ยงอย่างเร่งด่วน ต้องแก้ไขและปรับปรุงอุปกรณ์ สายไฟ เบรกเกอร์ การต่อสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และการออกแบบติดตั้งระบบสายล่อฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากเหตุฟ้าผ่า องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในวัดให้ได้ตามมาตรฐานด้านระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย และควรพิจารณาเพิ่มเรื่องความเหมาะสมของสถานที่เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านป้องกันอัคคีภัยและคงความงดงามของศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามทางพระพุทธศาสนา

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2563). คู่มือปฏิบัติงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปี 2563. กรุงเทพมหานคร: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.

ชัยวัฒน์ ธานีรัตน์. (ม.ป.ป.). กระบวนการใหม่สำหรับฟอกสีขี้ผึ้ง (Beeswax) และประโยชน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564, จาก http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2533_122_p25-27.pdf

นันทิรา วรกาญจนบุญ และคณะ. (2564). การประเมินความเสี่ยงระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในศาสนสถาน กรณีศึกษาวัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2 (1), 48-62.

ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543. (20 มิถุนายน 2544). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 58 ง. หน้า 28-55.

รัชฎาภรณ์ อินเกิด และคณะ. (2559). การสังเคราะห์น้ำมันหล่อลื่นชีวภาพจากน้ำมันพืชด้วยกระบวนการเอสเทอร์ริฟิเคชั่น. การประชุมวิชาการเครือข่ายพลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยนเรศวรและมหาวิทยาลัยแม่โจ้. วันที่ 8-10 มิถุนายน. หน้า 754-760.

วราพงษ์ มงคลแท้ และคณะ. (2552). การประเมินความเสี่ยงด้วยการวิเคราะห์ความผิดพลาด แบบแผนภูมิต้นไม้สำหรับ กระบวนการฉีดขึ้นรูปอะลูมิเนียม. วิศวกรรมสาร มก. 22 (69), 47-55.

วิชัย สุขคลีวนัติ และอภิชาต แจ้งบำรุง. (2555). การศึกษาและวิเคราะห์ระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารขนาดใหญ่พิเศษ กรณีศึกษา: อาคารคุ้มเกล้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วิศวกรรมสาร. 25 (82), 117-126.

สมมาศ เลิศลักษณ์อรรยา. (2559). ระบบป้องกันอัคคีภัยกับการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 6 (3), 351-358.

สยามรัฐออนไลน์. (12 กุมภาพันธ์ 2564). ไฟไหม้ศาลาการเปรียญเก่าอายุเกือบ 100 ปี วอดทั้งหลังรับตรุษจีน. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/219545

สิริวิมล ชื่นบาล และนันทิยา หาญศุภลักษณ์. (2555). การชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Fault Tree Analysis และการประเมินความเสี่ยง ภายในท่ออบแป้งในกระบวนการ ผลิตแป้งมันสำปะหลัง. วิศวกรรมสาร มก. 25 (80), 39-50.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาสมุทรปราการ. (14 กันยายน 2564). วัดบางพลีใหญ่ใน. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://samutprakan.mots.go.th/news_view.php?nid=723

อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์ และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. (2561). การวิเคราะห์หาสาเหตุของการประสบอันตราย ขั้นหยุดงานเกิน 3 วัน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว: กรณีศึกษา 17 โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 11 (1), 1-14.

อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. (2555). การวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว: เทคนิคการชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน Fault Tree Analysis: Hazard Identification Techniques for Preventing Work Accident. วารสาร มฉก.วิชาการ. 15 (30), 167-180.

Khanzode, V., et al. (2012). Occupational Injury and Accident Research: A Comprehensive Review. Safety Science. 50 (5). 1355-1367

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-24