การพัฒนาการให้บริการของแผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การพัฒนาการให้บริการ, แผนกตรวจสุขภาพ, โรงพยาบาลเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในแผนกตรวจสุขภาพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาระบบการให้บริการภายในแผนกตรวจสุขภาพ เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่สามารถเข้าถึงได้และผู้วิจัยสามารถเข้าไปศึกษาได้แบบไม่เป็นทางการ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้มารับบริการ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บริหาร ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริการภายในแผนกตรวจสุขภาพแห่งนี้จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้วิจัย โดยนำตนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในหน่วยวิจัยศึกษา ปฏิบัติตน สัมภาษณ์ สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เพื่อการได้ซึ่งข้อมูลการศึกษา ทบทวนวรรณกรรม งานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า 1) จุดแข็งของแผนกตรวจสุขภาพ คือ กลยุทธ์ที่สามารถปรับตัวได้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมปัจจุบัน การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้และสนับสนุนการทำงานภายในหน่วยงานได้อย่างเหมาะสม โครงสร้างสายการบังคับบัญชา การทำงานและขอบเขตการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบแต่ละตำแหน่งงานชัดเจน รวมถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในหน่วยงาน 2) ผลการพัฒนาสามารถลดเวลารอคอยของผู้มารับบริการ การให้บริการเป็นระบบมากขึ้น ลดข้อร้องเรียน การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานมีความคล่องตัว รวดเร็ว ผู้ปฏิบัติงานมีวิถีการทำงานที่ดี มีความสุขในการทำงานมากขึ้น องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ 1) องค์การที่มีปัจจัยภายในครบถ้วนทั้ง 7 ปัจจัยตามทฤษฎีแมคคินซีย์จึงทำให้องค์การสัมฤทธิ์ผล 2) องค์การได้นำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาผสมผสาน ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานได้อย่างเหมาะสม 3) องค์การมีความคล่องตัว ลดขั้นตอนการทำงาน 4) การให้ลำดับความสำคัญการบริการตามใบนัดหมายล่วงหน้า
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (10 เมษายน 2562). ธุรกิจโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565, จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2562/T26/T26_201903.pdf
กรรณิการ์ สิทธิชัย และสันติธร ภูริภักดี. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รับรางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (3), 1419-1435.
กรุงเทพธุรกิจ. (9 ตุลาคม 2564). กสิกรชี้ รพ. เอกชนปี 64 รายได้ผงกหัวแต่ยังเผชิญต้นทุน-การแข่งขันสูง. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/964918
ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 1 (3), 39-46.
ดอน แทปส์ค็อตต์. (2558). เศรษฐกิจดิจิทัล. พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็นเตอร์ไพรส์ แอลแอลซี.
ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์ และคณะ. (2562). การเรียนรู้เพื่อรับมือกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจในบริบทใหม่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 13 (2), 171-181.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29 (2), 31-48.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. (2554). แบบจำลองปัจจัยความสำเร็จการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ. 34 (130), 14-35.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (8 ตุลาคม 2564). โรงพยาบาลเอกชนปี 64 คาดรายได้ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำ การจัดการต้นทุนและการแข่งขันสูงยังคงกดดันธุรกิจต่อเนื่อง (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3277). สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Private-hospital-z3277.aspx
หทัยรัตน์ คงสืบ และวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. (2562). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านคุณภาพ. 5 (1), 72-84.
อรดี บุญบุตร และอำภาศรี พ่อค้า. (2563) นวัตกรรมบริการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 15 (3), 173-185.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17 (1), 17-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.