การใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • พระอธิการภูมิสิษฐ์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี
  • นัชพล คงพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร

คำสำคัญ:

ภาษาเพื่อการสื่อสาร, การปฏิบัติการสอน, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับอุดมศึกษาได้เข้าใจกระบวนการการใช้ภาษาของครูในการเรียนการสอนนักเรียนในยุคสมัยเทคโนโลยี เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่นิสิตผู้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูต้องคำนึงถึงกลวิธีในการสื่อสาร บทความนี้ได้กล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ ประเภทของการสื่อสาร นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงประเด็นต่อไปนี้ 1. ครูกับทักษะการใช้ภาษาและความสำคัญของภาษาสำหรับครู 2. การใช้ภาษาในการสื่อสารของครู/การฝึกสอนของนิสิต โดยจำแนกเป็นได้ ดังนี้ 1) ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารสำหรับครู 2) ภาษาช่วยให้ครูใช้ภาษาเหมาะสมกับสถานภาพของตน 3) ภาษาช่วยให้ครูใช้ภาษาที่สุภาพและหลีกเลี่ยงคำต้องห้าม 4) ภาษาช่วยให้ครูฝึกนักเรียนให้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานที่ถูกต้อง 5) ภาษาแสดงถึงวัฒนธรรม และ 3. ปัญหาการใช้ภาษาไทยสำหรับครู จากแนวคิดเหล่านี้ทำให้พบองค์ความรู้ใหม่ในประเด็น ดังนี้ 1. ปัจจัยภายในของครูที่ต้องมีบุคลิกภาพที่ดี พูดดีมีความรู้ มีคุณธรรมสูง และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 2. ปัจจัยภายนอก หมายถึง อุปสรรคปัญหาที่นอกเหนือจากภาระงานสอนในชั้นเรียน เช่น ความสามารถที่แตกต่างกันของนักเรียนในแต่ละห้อง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียน สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรงของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ได้เรียนรู้ ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการจริง

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ขัณธ์ชัย อธิเกียรติ. (2555). วาทการสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จรัลวิไล จรูญโรจน์. (2557). ภาษาในปริบทสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โชษิตา มณีใส. (2555). การใช้ภาษาไทยเพื่อประสิทธิผล, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2534). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 1-8, พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประคอง นิมมานเหมินท์ และคณะ. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 4: วัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ประยูร ทรงศิลป์. (2553). หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

รัฐพล พรหมสะอาด และคณะ. (2561). การนำเสนอแนวทางการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 13 (38), 119-134.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

วัลยา ช้างขวัญยืน. (2540). ภาษากับการสื่อสาร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวรรณา ตั้งทีฆะรักษ์. (2556). ภาษาและวัฒนธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Culpeper, J. (2012). Politeness and Impoliteness. In Andersen, G. and Aijmer, K. (eds.). Pragmatics of Society. (pp. 393-483). Berlin: Mouton de Gruyter.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18