ผลการกายบริหารด้วยการรำไหว้ครูมวยไทยและการใช้ท่ามวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • พนิดา ชูเวช คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปริวัตร ปาโส คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

กายบริหาร, รำไหว้ครู, ท่ามวยไทย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการกายบริหารด้วยการรำไหว้ครูมวยไทยและการใช้ท่ามวยไทยต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียวแบบวัดก่อนและหลังการทดลอง ศึกษาในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีจำนวน 45 คน โดยใช้กรอบแนวคิด PRECEDE Framework กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมบริหารด้วยการรำไหว้ครูมวยไทยและการใช้ท่ามวยเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้ การรับรู้ การฝึกการกายบริหาร และการเสริมแรงสนับสนุนด้านความสำคัญของสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยเครื่องมือวัดความอ่อนตัว วัดความจุปอด และวัดความความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อขา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า สมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัว ด้านความจุปอดและด้านความความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อขาของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย คือ การได้โปรแกรมกายบริหารสำหรับผู้สูงวัยที่มีชื่อว่า รำมวยไทยแปดสัปดาห์ ประกอบด้วยการรำไหว้ครูมวยไทย และการใช้ท่ามวยไทยเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เป็นการนำความงามของศิลปะการรำไหว้ครูมวยไทยและท่ามวยไทยมาใช้บริหารร่างกายของผู้สูงอายุในชุมชน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (3 มีนาคม 2564). ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/466

กุลกานต์ โพธิปัญญา. (2562). รําไหว้ครูมวยไทย: ความหมาย ความเหมือน และความต่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกวรีน สุขมี และคณะ. (2563). ผลของการออกกำลังกายด้วยมวยไทยที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความอ่อนตัวในผู้สูงอายุไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 21 (3), 432-445.

ชฎาพร คงเพ็ชร์. (2562). การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาล. 68 (4), 64-71.

ชลธิชา จันทคีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 24 (2), 1-12.

ชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ และคณะ. (2563). การสังเคราะห์ท่ากายบริหารสำหรับลดอาการปวดบริเวณไหล่ในผู้สูงอายุโดยใช้ตารางตัดสินใจ. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 21 (2), 80-95.

ทิติภา ศรีสมัย และคณะ. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุชาวไทย: กรณีศึกษานำร่อง. จุฬาลงกรณ์เวชศาสตร์. 61 (6), 745–755.

นวรัตน์ ไวชมภู และคณะ. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6 (2), 262-269.

นิธินันท์ ภูกาบิน. (2558). ผลของการออกกำลังกายด้วยคีตะมวยไทย แอโรบิคมวยไทยและแอโรบิคแดนซ์ที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 2173-2184.

มลรักษ์ เลิศวิลัย. (2550). ผลการฝึกกายบริหารท่าแม่ไม้มวยไทย 2 รูปแบบ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยศเรืองสา. (2524). ตำรามวยไทย ตำรับพระเจ้าเสือ. กรุงเทพมหานคร: เสริมวิทย์บรรณาคาร.

วารี วิดจายา และคณะ. (2554). ผลของการฝึกไหว้ครูรำมวยไทยและโยคะต่อสมรรถภาพทางกาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 11 (2), 106-130.

วีระศักดิ์ เหมหาชาติ. (2553). ผลของการฝึกท่าบริหารร่างกายพื้นฐานมวยไทยไชยาที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในวัยรุ่นเพศหญิง. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์ และคณะ. (2559). ผลการเปรียบเทียบการไหว้ครูมวยไทยกับการอบอุ่นร่างกายแบบมวยสากลต่อความอ่อนตัวและการทรงตัว. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วันที่ 8-9 ธันวาคม. หน้า 2399-2410.

สุขพัชรา ซิ้มเจริญ. (2546). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตร.

สุทธิพงศ์ ภูเก้าแก้ว และดวงไกร ทวีสุข. (2560). ผลการฝึกกายบริหารด้วยแม่ไม้มวยไทยและลูกไม้มวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36 (5), 175-181.

สุมาลี นาเมือง. (2548). ผลของการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยที่มีต่อองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิง อายุ 12 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2560). คู่มือออกกำลังกายบำบัดทางการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชน อายุ 60-69 ปี. กรุงเทพมหานคร: กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

อังคะนา ศรีตะลา. (2547). การเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 7 (14), 88-101.

Chlif, M., et al. (2017). Effect of Aerobic Exercise Training on Ventilatory Efficiency and Respiratory Drive in Obese Subjects. Respiratory Care. 62 (7), 936-946.

Mizue, S., et al. (2002). The Relationship between Fear of Falling, Activities of Daily Living and Quality of Life among Elderly Individuals. Nursing and Health Science. 4 (4), 155-161. DOI:10.1046/j.1442-2018.2002.00123.x

Tajvar, M., et al. (2008). Determinants of Health-related Quality of Life in Elderly in Tehran, Iran. BMC Public Health. 8 (323). DOI:10.1186/1471-2458-8-323

Wan, Xianglin, et al. (2021). Effects of Flexibility and Strength Training on Peak Hamstring Musculotendinous Strains during Sprinting. Journal of Sport and Health Science. 10 (2), 222-229.

Zhang, J. G., et al. (2006). The Effects of Tai Chi Chuan on Physiological Function and Fear of Falling in the Less Robust Elderly: An Intervention Study for Preventing Falls. Archives of Gerontology and Geriatrics. 42 (2), 107-116. DOI: 10.1016/j.archger.2005.06.007

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-14