ผลของโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อนันทนาการที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความเครียดของเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ปริวัตร ปาโส คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พนิดา ชูเวช คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การละเล่นอีสานพื้นบ้าน, การนันทนาการ, สมรรถภาพทางกาย, ความเครียด, เยาวชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและระดับความเครียดของเยาวชนในจังหวัดร้อยเอ็ด ประชากรเป็นอาสาสมัครเยาวชนชายที่มีสุขภาพดี อายุ 7-18 ปี จำนวน 78 คน ใช้โปรแกรมจีสตาร์เพาเวอร์เพื่อกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจงเลือกผู้ที่มีความเครียดระดับปานกลาง-มาก เยาวชนเหล่านี้เข้าร่วมโปรแกรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อนันทนาการระยะเวลา 8 สัปดาห์ ใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเยาวชน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการเข้าโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที กำหนดระดับมีนัยสำคัญที่ .05

ผลการวิจัย พบว่า หลังจาก 8 สัปดาห์ อัตราการเต้นหัวใจ ความจุปอด แรงเหยียดขา และแรงเหยียดหลังของเยาวชนดีขึ้น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกรายการ ความเครียดของเยาวชนลดลดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า โปรแกรมนี้สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกายและช่วยลดระดับความเครียดของเยาวชน องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือ การได้โปรแกรมเจ็ดเกมนันทนาการพื้นบ้านอีสานต้านเครียด เป็นโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพทางกายและลดความเครียดของเยาวชนระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยนำ 7 การละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานของอีสานมาใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการด้านสมรรถภาพทางกายและลดความเครียดของเยาวชน

References

กนกรัตน์ สุขะตุงคะ. (2537). ความเครียด-คลายเครียด. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 25 (1), 7-15.

กนกวรรณ ทองตำลึง และคณะ. (2561). การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยภาคเหนือ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (1), 1320-1336.

กรมพลศึกษา. (2555). ผลของการใช้เกมกลุ่มสัมพันธ์ด้านนันทนาการที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กในสถานสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมพลศึกษา. (2557). คู่มือผู้นำนันทนาการ. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมพลศึกษา.(2561). นันทนาการอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักนันทนาการกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมพลศึกษา.(2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13-18 ปี). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมสุขภาพจิต. (2558). แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต.

กองสุขศึกษา. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดการความเครียดสำหรับวัยทำงาน. นนทบุรี: กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

เกรียงไกร ยาม่วง. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จักรี อย่าเสียสัตย์. (2556). ผลของการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรพันธ์ ดุสิตกุล. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เกมกลุ่มสัมพันธ์ที่มีต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนัด บุญอิสระเสรี และคณะ. (2558). ผลของชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5 (2), 101-112.

เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2551). เอกสารคำสอนรายวิชา 3906303 การเป็นผู้นำนันทนาการ. กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (อัดสำเนา).

ปนิษฐา เรืองปัญญาวุฒิ และสุธนะ ติงศภัทิย์. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนประถมศึกษา. An Online Journal of Education. 9 (2), 100-114.

ประกอบชัย ถมเพชร และพีระพงศ์ บุญศิริ. (2560). ผลการใช้กิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลันนอร์ท-เชียงใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. วันที่ 21 กรกฎาคม. หน้า 891-901.

ปิยาภรณ์ สุนทองห้าว และวรรณพร ทองตะโก. (2562). ผลของการฝึกกล้ามเนื้อหายใจที่มีต่อสมรรถภาพปอดและความสามารถด้านการวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตซอล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 20 (2), 40-56.

มนตรี อารีย์. (2562). การศึกษาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายโดยใช้เกมและเกมนำเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์. 3 (2), 52-61.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีเกมและการประยุกต์ใช้ในทางเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ,ประเภทของเกม. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563, จาก https://www.stou.ac.th/Study/Services/Sec/60340(2)/Game2.html

มาลี กาบมาลา. (2561). การพัฒนาออนโทโลยีภูมิปัญญาการละเล่นพื้นบ้านของเด็กอีสานด้วยแนวทางวิเคราะห์-สังเคราะห์. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 36 (2), 75-116.

ยุพิน สีแก่. (2555). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย. วารสารวิจัย มสด สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 1 (5), 61-70.

วรรณวิสา บุญมาก. (2561). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (1), 2137-2147.

วัลลภา อันดารา และคณะ. (2558). ผลของกิจกรรมบำบัดต่อความเครียดของสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง. วารสารพยาบาลตำรวจ. 7 (1), 141-152.

ศักดิ์ชัย ศรีสุข และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านดอนยานาง จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8 (3), 1-8.

สุชาติ ทวีพรปฐมกุล. (2543). เทคนิคและทักษะเกมมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาภัทร ทนเถื่อน. (2553). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์

เสริมศักดิ์ นาริน. (2559). ผลการใช้กิจกรรมนันทนาการด้านกีฬาภูมิปัญญาไทยที่มีผลต่อการจัดการความเครียดของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี.

อรวรรณ ศิลปกิจ. (2551). แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 16 (3), 177-185.

Beck, A. (1967). Depression: Clinical, Experimental, and Theoretical Aspects. New York: Hoeber Medical Division.

Janis, I. (1952). Psychological Stress. New York: John Wiley & Son.

Yener, A., et al. (2017). The Effects of Recreational and Sports Activities on Psychological Status in Young People Aged 11-13 Years. Universal Journal of Public Health. 5 (5), 217-221. DOI: 10.13189/ujph.2017.050503

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-24