แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามความเชื่อของวัดท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
  • ประทีป พืชทองหลาง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ปาณิสรา เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, เส้นทางการท่องเที่ยว, ความเชื่อ, วัดท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อการเดินทางเพื่อสักการะบูชาวัดท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามเชื่อของวัดท่องเที่ยวในจังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างสำหรับแบบสอบถามจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำหรับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก 53 รูป/คน และนำเสนอข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การใช้สถิติเชิงพรรณนาและอธิบายเป็นความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า 1) การเดินทางส่วนใหญ่ไปเพื่อขอพร เสริมสิริมงคลและพักผ่อนหย่อนใจ ข้อมูลการท่องเที่ยวได้รับจากอินเทอร์เน็ตและเดินทางในวันนักขัตฤกษ์ด้วยรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งวัดท่องเที่ยวต้องมีลักษณะดึงดูดใจ เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ มีศิลปะงดงาม ติดป้ายสุภาษิตสอนใจ มีพระสงฆ์ให้คำแนะนำและเป็นวิทยากรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ รวมถึงต้องง่ายต่อการเข้าถึง มีสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสินค้าและบริการ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตและประพฤติตนอยู่ในหลักแห่งความดีตามความเชื่อ 2) แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว ได้แก่ (1) การส่งเสริมความเชื่อ (2) การพัฒนาวัดท่องเที่ยวในเชิงประวัติศาสตร์ (3) การอนุรักษ์ความงดงามทางด้านศิลปกรรม (4) การพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ 1) ทุนทางสังคม 2) การอนุรักษ์ และ 3) ความร่วมมือ โดยวัดและชุมชนต้องพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับและตอบสนองนักท่องเที่ยวทางด้านความงดงามของศิลปกรรม การเข้าถึงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว สิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบริการและสินค้า กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และการมีส่วนร่วมจากหน่วยงาน/ภาคี เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวให้ตรงตามเป้าหมายของท้องถิ่นและตอบสนองต่อความต้องการแก่นักท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

References

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร. 32 (4), 139-146.

ฉลองเดช คูภานุมาต. (2557). การศึกษาแนวคิดคติจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา จากงานจิตรกรรมล้านนาเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. 24 (3), 17-42.

ฐาปกรณ์ เครือระยา. (2559). วัดพม่า-ไทยใหญ่ในนครลำปาง. ใน ตามรอยเส้นทางวัดพม่าจังหวัดลำปาง. ลำปาง: วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พยอม ธรรมบุตร. (2548). หลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ ธนปญฺโญ) และคณะ. (2555). การศึกษารูปแบบและสภาพแหล่งเรียนรู้ ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วินิจ วีรยางกูร. (2532). การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2547). ปฐมนิเทศอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

#JSBS #TCI1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-26