พิธีกรรมและคุณค่าการใช้ส้มป่อยในวัฒนธรรมล้านนา

ผู้แต่ง

  • พระอธิการโยธิน อินทะนะ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

พิธีกรรม, คุณค่า, ส้มป่อย, วัฒนธรรมล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคติ ความเชื่อและการใช้ส้มป่อยในพิธีกรรมในล้านนา และ 2) เพื่อศึกษาพิธีกรรม คุณค่า และการตีความเชิงสัญลักษณ์พิธีกรรมการใช้ส้มป่อยในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป/คน เพื่อนำมาวิเคราะห์พิธีกรรม คุณค่า และสัญลักษณ์แห่งการใช้ส้มป่อยในวัฒนธรรมล้านนา

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ส้มป่อยเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ในพิธีกรรมในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดกระทั่งตาย เป็นพืชและสมุนไพรที่เชื่อว่า ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แสดงความเคารพ ขับไล่สิ่งชั่วร้าย สิ่งอัปมงคล และสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้อื่น 2) ส้มป่อยได้นำมาใช้ในพิธีกรรมที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าตามความเชื่อในล้านนา ดังนี้ (1) การใช้ในพิธีกรรมงานมงคล (2) ในพิธีกรรมงานอวมงคล (3) การใช้เพื่อแสดงความเคารพ (4) การใช้ในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ และ (5) การใช้เพื่อชำระล้างไทยธรรมให้บริสุทธิ์ ส่วนการตีความเชิงสัญลักษณ์พิธีกรรมการใช้ส้มป่อยในล้านนาถูกตีคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ ได้แก่ (1) การตีคุณค่าเชิงความเชื่อ (2) การตีคุณค่าเชิงภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) การตีคุณค่าเชิงพิธีกรรม และ (4) การตีคุณค่าเชิงหลักคำสอน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าใจถึงบาปบุญและจรรโลงไว้ซึ่งความดีงาม องค์ความรู้จากการวิจัย คือ คติ ความเชื่อ คุณค่าเชิงลักษณ์เกิดจากความกลัวและความเชื่อที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ที่ได้รับการสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

References

กริช อินเต็ม. (2557). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมพุทธศาสนาเรื่องมหาวิบาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักรพงษ์ อินพู่. (2564). ปู่จ๋านบ้านหลุก ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 2 พฤษภาคม.

ณรงค์ ปัดแก้ว. (2564). รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. สัมภาษณ์. 2 พฤษภาคม.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2557). วรรณกรรมคำสอนของล้านนา: ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์.

ประคอง กระแสชัย. (2524). วรรณกรรมลานนาไทยเรื่องพรหมจักร: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระครูปริยัติสุนทร. (2564). รองเจ้าคณะอำเภอแม่ทะ เจ้าอาวาสวัดสันฐาน ตำบลป่าตัน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. สัมภาษณ์. 2 พฤษภาคม.

พระมหาเกรียงไกร แก้วไชยะ. (2553). รูปแบบที่เหมาะสมของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมความเชื่อและพิธีกรรมเรื่องเทพในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเพื่อความสงบสุขของสังคมไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2548). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์เทศน์ในเทศกาลต่าง ๆ ของล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณี พยอมยงค์. (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่: ส. ทรัพย์การพิมพ์.

ยุพิน เข็มมุกต์. (2554). ความเชื่อ พิธีกรรม สายใยในวิถีล้านนา. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

ลมูล จันทร์หอม. (2538). วรรณกรรมท้องถิ่นล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิราภา เลาหเพ็ญแสง. (2545). วิเคราะห์ตำนานภาคเหนือเพื่อการสอนวรรณกรรมท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิงฆะ วรรณสัย. (2522). ชาดกนอกนิบาตเรื่องพรหมจักร: รามเกียรติ์ฉบับสำนวนภาษาลานนาไทย. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สีมา อนุรักษ์ และประชิด สกุณะพัฒน์. (2551). มรดกคนล้านนาประเพณีและวิถีชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ซีแอนด์เอ็น.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2548). คำนำเสนอในหนังสือประเพณี 12 เดือน. ใน ปราณี วงษ์เทศ. ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมเพื่อความอยู่รอดของคน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (2546). วรรณกรรมล้านนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-06