แนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชุมชนของพระบาทดอยโตน ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • พระครูสุวรรณทัศนสุนทร หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • จีรศักดิ์ ปันลำ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การอนุรักษ์, ป่าชุมชน, พระบาทดอยโตน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของป่าชุมชน กระบวนพัฒนาและการอนุรักษ์ป่าชุมชน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชุมชนของพระบาทดอยโตน ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 24 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเป็นความเรียงเพื่อนำเสนอผลการวิจัย

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาป่าชุมชนเป็นภูเขาแต่ไม่สูงชัน แห้งแล้ง ห่างไกลชุมชน เป็นพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เกิดการบุกรุกป่าเพื่อตัดไม้นำมาเผาถ่านขาย ชุมชนขาดจิตสำนึกในการดูแลป่าและนำขยะมาทิ้งในพื้นที่ 2. กระบวนการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชุมชน ได้แก่ 1) เวทีประชาคม การรับฟังและร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน 2) การวางแผนงาน เพื่อกำหนดกฎ กติกา ระเบียบ 3) การอนุรักษ์ป่าชุมชนด้วยจารีตประเพณีท้องถิ่น 4) การติดตาม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น 3. แนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์ป่าชุมชน ได้แก่ 1) การปลูกจิตสำนึกให้เห็นคุณค่าของป่าไม้ 2) บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ 3) การมีส่วนร่วมชุมชนในการผลักดันให้กิจกรรมเป้าหมายชุมชน 4) สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 5) การพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชนด้วยกิจกรรม องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความงดงามทางธรรมชาติและความเชื่อรอยพระพุทธบาททำให้เกิดการพัฒนาป่าชุมชนโดยอาศัย 4 ด้าน ได้แก่ 1) กฎ/กติกาสังคม 2) การมีส่วนร่วม 3) การสืบสานวัฒนธรรม และ 4) การอนุรักษ์ ซึ่งการอนุรักษ์ต้องสัมพันธ์กับความเชื่อและจารีตท้องถิ่นในการพัฒนาป่าชุมชนได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยาต่อไป

References

ณัฐวรรธน์ สุนทรวริทธิโชติ และคณะ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลสามบัณฑิต: ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประชาชน. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พระครูพิพิธสุตาทร และคณะ. (2552). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชุมชน บนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฏีกาสุพจน์ ตปสีโล. (2556). ศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมขององค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์). (2561). การจัดการป่าชุมชนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วินัย วีระวัฒนานนท์. (2540). วิกฤตสิ่งแวดล้อมทางตันแห่งการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ และคณะ. (2559). การบริหารจัดการเชิงพุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติแนวพุทธของพระสงฆ์ในจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ และคณะ. (2563). พระพุทธศาสนากับนิเวศวิทยา. ลำปาง: พี.เอ็น.ป้ายสวยดีไซด์.

สหัทยา วิเศษ. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ: ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มฮักป่าศรีถ้อย ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หอมรดกไทย. (ม.ป.ป.). สังคมแบบพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2564, จาก http://thaiheritage.net/religion/prapa/prapa2.htm

อุทยานแห่งชาติแม่วะ. (ม.ป.ป.). อุทยานแห่งชาติแม่วะ (Mae Wa). สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564, จาก http://park.dnp.go.th/Visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1100

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11