ลักษณะเด่นและคุณค่าของมังคลัตถทีปนี: ผลงานวรรณกรรมบาลีชิ้นเอกของพระสิริมังคลาจารย์

ผู้แต่ง

  • พระมหาจุมพล สุยะต๊ะ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิโรจน์ อินทนนท์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาล้านนาศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

มังคลัตถทีปนี, วรรณกรรมบาลี, พระสิริมังคลาจารย์

บทคัดย่อ

มังคลัตถทีปนี ผลงานวรรณกรรมบาลีชิ้นเอกของพระสิริมังคลาจารย์ เป็นการยกหัวข้อธรรมในมงคลสูตรที่มีในพระไตรปิฎกมาตั้งแล้วอธิบายความหมายของมงคลแต่ละข้ออย่างละเอียด ด้วยการยกนิทานอุทาหรณ์มาสอดแทรกการอธิบายและใช้การอ้างอิงจากคัมภีร์หลายเรื่อง ผู้ศึกษาได้นำมังคลัตถทีปนีมาวิเคราะห์ลักษณะเด่นและคุณค่าของวรรณกรรม ซึ่งพบว่า มังคลัตถทีปนีประกอบด้วยลักษณะเด่นด้านโครงสร้าง วิธีการนำเสนอและเนื้อหา ดังนี้ ลักษณะเด่นด้านโครงสร้าง เริ่มต้นด้วยบทปณามคาถา อุบัติกถา การลำดับเรื่อง และจบลงด้วยนิคมคาถา ส่วนลักษณะเด่นด้านการนำเสนอเนื้อหามี 10 วิธี คือ 1) การให้คำจํากัดความ 2) การวิเคราะห์ความหมายตามรูปศัพท์ทางไวยากรณ์ 3) การพรรณนาลักษณะเชิงพฤติกรรม 4) การจำแนกประเภท 5) การประเมินคุณค่าในแต่ละมงคล 6) การยกนิทานอุทาหรณ์มาแสดง 7) การตั้งคำถาม-คำตอบ 8) การอ้างอิง 9) การประมวลข้อมูลจากคัมภีร์ต่าง ๆ และ 10) การวินิจฉัยความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาอ้างอิง สำหรับลักษณะเด่นด้านเนื้อหา เป็นการอธิบายเพิ่มเติมจากงานอรรถกถาปรมัตถโชติกาของพระพุทธโฆษาจารย์ โดยยกนิทานอุทาหรณ์เป็นจำนวนมากขึ้นมาแสดง และการอธิบายความเป็นลำดับสอดคล้องกับหลักอาศรม 4 ของพราหมณ์ จากลักษณะเด่นดังกล่าวมาจึงก่อให้เกิดคุณค่าในฐานะวรรณกรรมต้นแบบของบาลีในประเทศไทย อันประกอบด้วยคุณค่าด้านภาษา คุณค่าด้านสาระธรรม และคุณค่าด้านสังคม สำหรับองค์ความรู้ใหม่จำแนกเป็น 2 ประเด็น คือ 1) รูปแบบการแต่ง งานชิ้นนี้เป็นผลงานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ เพราะมีการอ้างอิงเชิงวิชาการและนิทานประกอบชัดเจน 2) ความสละสลวยของภาษาบาลี คัมภีร์นี้มีลักษณะเฉพาะในการประพันธ์ จึงเป็นตำราเรียนในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยกระทั่งปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2527). ประวัติการศึกษาของสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

เกรียงศักดิ์ ฟองคํา. (2562). คุณค่าทางวรรณกรรมของพระสิริมังคลาจารย์ที่มีต่อสังคมไทยร่วมสมัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาเขตแพร่. 5 (1), 350-362.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543ก). มงฺคลตฺถทีปนี (ปฐโม ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2543ข). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

บาลี พุทธรักษา. (2560). ทีปนีล้านนา ที่โดดเด่นในพุทธศตวรรษที่ 21 ของพระสิริมังคลาจารย์แห่งวิหารสวนขวัญ นวปุระ. ธรรมจักษุ. 101 (12), 68-73.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2538). หนังสือมงคลทีปนี. ศิลปกรรมปริทรรศน์. 10 (1), 4-15.

พระมหาสังวร สีลสํวโร. (2506). พระสิริมังคลาจารย์: มหาปราชญ์แห่งลานนาไทย. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์การพิมพ์.

พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ และคณะ. (2560). บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์. แพร่: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). อรรถกถาบาลี เล่ม 16. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล เล่ม 39. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ลิขิต ลิขิตานนท์. (2534). วรรณกรรมพุทธศาสนาเถรวาท. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2534). ปรัชญาอินเดีย. เชียงใหม่: ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2556). มังคลัตถทีปนี. ใน ตามรอยพระสิริมังคลาจารย์ สังฆปราชญ์ล้านนา, หน้า 154-182. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2560). มังคลัตถทีปนี: แนวทางการดำรงอยู่แห่งชีวิตที่ยั่งยืน. ใน สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต ประจำปี 2560, หน้า 85-101. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2554). จักวาฬทีปนี: ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-27