การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

ผู้แต่ง

  • ลักษณาภรณ์ ทองสุข หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณิรดา เวชญาลักษณ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตร, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถามจากประชากรจำนวน 133 แห่ง แบบสอบถามประกอบด้วยมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การใช้หลักสูตร โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การจัดทำหลักสูตร โดยเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1. ด้านการจัดทำหลักสูตร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การกำหนดองค์ประกอบสำคัญ และต่ำสุด คือ การกลั่นกรองร่างหลักสูตร 2. การวางแผนการใช้หลักสูตร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมให้ครูหาความรู้ด้านหลักสูตร และต่ำสุด คือ การศึกษาดูงานสถานศึกษาที่บริหารจัดการหลักสูตรประสบผลสำเร็จ 3. ด้านการใช้หลักสูตร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การนำหลักสูตรไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน และต่ำสุด คือ การกำหนดรายละเอียดของเอกสารประกอบหลักสูตร 4. ด้านการประเมินผลหลักสูตร ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และต่ำสุด คือ การดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรตามผลการประเมินที่ได้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ บริหารหลักสูตรมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดทำหลักสูตร ด้านการวางแผนการใช้หลักสูตร ด้านการใช้หลักสูตรและด้านการประเมินผลหลักสูตร ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้มีประสิทธิภาพเพราะหลักสูตรสถานศึกษาเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ เสมือนเป็นแม่แบบนำไปปรับใช้การจัดการเรียนการสอน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: สยามสปอร์ต ซินดิเคท.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2556). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์ (1991).

ณัฐชา สวัสดไชย. (2560). การศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสอยดาววิทยา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญภัทร์ ตรงกรณ์. (2556). สภาพการดำเนินงานด้านหลักสูตรสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายสถานศึกษาที่ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2554). หลักสูตรการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวงบุปผา เสาวรส. (2559). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนบ่อสุวรรณวิทยา. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัจนียา แพไธสง และวัลภา อารีรัตน์. (2553). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2: กรณีศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 4 (3), 103-113.

วีณา แสนโกศิก. (2563). ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. สัมภาษณ์. 27 พฤศจิกายน.

สุกัญญา ประมายะยัง (2560). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (2000) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30. (3), 608-610.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-02