แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนแม่ฮวก เทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สุวรัฐ แลสันกลาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • อนันต์ อุปสอด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • วลัยลักษณ์ ขันทา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง สถาบันพระบรมราชชนก
  • แสงอรุณ เจริญจันทร์แดง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ:

แผนยุทธศาสตร์, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารจัดการขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบจากขยะมูลฝอยของชุมชนแม่ฮวก 2) เพื่อสร้างแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแม่ฮวก และ 3) เพื่อประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแม่ฮวก เทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ การสนทนากลุ่มและ การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเรียบเรียงเสนอโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ขยะมูลฝอยตำบลไหล่หินมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยขาดการคัดแยกก่อนทิ้ง บ่อทิ้งขยะส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง 2) ผลการสร้างแผนยุทธศาสตร์ชุมชนแม่ฮวกมี 3 ด้าน คือ (1) การลดปริมาณขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด (2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการขยะ และ (3) การเพิ่มศักยภาพชุมชนและสร้างพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะ ผลการนำแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติพบว่า ชุมชนสามารถลดการปริมาณขยะมูลฝอย สร้างการเรียนรู้ และยกระดับเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผลประเมินยุทธศาสตร์พบว่า การรณรงค์คัดแยกขยะมี 205 ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ ชุมชนสามารถบริหารจัดการขยะได้ด้วยตนเองและปริมาณขยะลดลง การจัดตั้งธนาคารขยะชุมชนพบว่า สมาชิกเข้าร่วม 210 ครัวเรือน โดยมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนการพัฒนาศักยภาพพบว่า คณะกรรมการมีทักษะการนำเสนอข้อมูล และยกระดับเป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน มองเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่ดำเนินการ กระทั่งเกิดกระบวนการสร้างความรู้และนำสู่การปฏิบัติด้วยตนเอง คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2563ก). รายงานการสำรวจข้อมูลและคัดแยกองค์ประกอบขยะ 6 ชุมชนของเทศบาลตำบลไหล่หิน. ลำปาง: เทศบาลตำบลไหล่หิน.

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2563ข). สถิติปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นและเก็บขนได้ของเทศบาล ตำบลไหล่หิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563. ลำปาง: เทศบาลตำบลไหล่หิน.

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2564). รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะที่ต้นทาง. ลำปาง: เทศบาลตำบลไหล่หิน.

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์. (2558). ผู้นำที่แท้แห่งศตวรรษที่ 21: คู่มือหลักสูตรการเรียนรู้นักปฏิบัติการทางสังคมและสุขภาวะ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมรัตน์ โพธิสุวรรณปัญญา และคณะ. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จของเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (2), 223-239.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พีรยา วัชโรทัย. (2556). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2544). แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พลังปัญญา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน วิธีคิด ท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทนุสนับสนุนการวิจัย.

#364_4 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-12