การศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของผู้เรียนโดยใช้หลักอริยสัจ 4 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ ใจฉลาด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • จารุวรรณ นาตัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ณิรดา เวชญาลักษณ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • นิคม นาคอ้าย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อดุลย์ วังศรีคูณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การดำเนินชีวิต, ผู้เรียน, อริยสัจ 4, มัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของผู้เรียนโดยใช้หลักอริยสัจ 4 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน 28 คน ครูผู้สอน 289 คน รวมทั้งสิ้น 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการดำเนินชีวิตของผู้เรียนโดยใช้หลักอริยสัจ 4 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นพบว่า ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินชีวิตโดยใช้หลักอริยสัจ 4 อยู่ในระดับมาก และขั้นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การดำเนินชีวิตขั้นมรรค (การเก็บรวบรวมข้อมูลและกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติ) มีสภาพการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้ว ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ข้อที่ 1 ของการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักอริยสัจ 4 อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่น้อยที่สุด คือ ข้อที่ 9 ของการดำเนินชีวิตขั้นสมุทัย (ระบุสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมติฐาน) อยู่ในระดับมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูควรส่งเสริมการดำเนินชีวิตของนักเรียนโดยใช้หลักอริยสัจ 4 ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้รู้จักการกำหนดสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง 2) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะการวิเคราะห์ การค้นหามูลเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น 3) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ 4) การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในวิธีการสรุปข้อมูลและแนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกชรัตน์ สมานสินธุ์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปวีณา ตังนู. (2557). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องจำนวนและตัวเลขโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบอริยสัจ 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พงษ์ลดา สังคพัฒน์. (2553). การวิจัยและพัฒนาการสอนตามขั้นตอนของอริยสัจเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). ความคิดแหล่งสำคัญของการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2544). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. (2553). รำลึกคุณูปการศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี. กรุงเทพมหานคร: สันติศิริการพิมพ์.

สุรเกียรติ ไชยนุวัติ. (2553). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อุไรวรรณ ฉลาดกิจ. (2553). ผลการใช้วิธีสอนแบบอริยสัจ 4 ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-12