บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงสร้างสรรค์ ในการจัดการสุขภาพชุมชนเข้มแข็ง บ้านยายม่อม จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การจัดการสุขภาพ, ชุมชนเข้มแข็ง, บทบาทเชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชิงสร้างสรรค์ในการจัดการสุขภาพ และศึกษาแนวทางการจัดการสุขภาพชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดตำบลจัดการสุขภาพเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย ได้แก่ บ้านยายม่อม หมู่ 1 ตำบลแหลมงอบ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น อสม. จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาท อสม. เชิงสร้างสรรค์ในการจัดการสุขภาพชุมชนเข้มแข็งต้องอาศัยกลุ่มแกนนำและเครือข่ายทางสังคมมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน ประกอบกับการมีต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมมาต่อยอดเป็นกิจกรรมและผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพที่สอดคล้องกับหลักการปฏิบัติวัฒนธรรมพุทธและอิสลาม รวมถึงการแก้ปัญหาของชุมชน อาทิ ปัญหาสุขภาพในชุมชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม และความยากลำบากทางเศรษฐกิจ จึงเกิดนวัตกรรมสร้างสรรค์ในการจัดการสุขภาพชุมชนบ้านยายม่อม คือ ปลาโคกแดดเดียวโซเดียมต่ำ ถ่านกะลามะพร้าว การหมักปุ๋ยจากปลาโคก ชาใบขลู่ 2) แนวทางการจัดการสุขภาพชุมชน ได้แก่ การคัดกรองสุขภาพชุมชน การเยี่ยมบ้าน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คนในชุมชน รวมถึงการทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้ป่วย องค์ความรู้จากการวิจัย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและคนในชุมชนบ้านยายม่อมแสดงให้เห็นความพยายามในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน โดยการนำปัญหาของชุมชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกิดวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น นอกจากนี้ ชุมชนได้หาแนวร่วมที่เป็นเครือข่ายให้เกิดนวัตกรรมสุขภาพในท้องถิ่นอย่างแท้จริง
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2556). คู่มือ อสม. นักจัดการสุขภาพชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2561). แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพมหานคร: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
จันทร์จิรา อินจีน และคณะ. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.
ชัชวาล น้อยวังฆัง. (2563). การศึกษาสถานการณ์การให้บริการของศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.). กรุงเทพมหานคร: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.
ณิชาพร ศรีนวล. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองด้านนวัตกรรมสุขภาพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทศพร บุญวัชราภัย. (2558). ความคิดสร้างสรรค์ขององค์การเพื่อสร้างนัวตกรรมบริการและผลการดำเนินงานของธุรกิจ: ปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ของโรงแรมบูติกไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประภัสสร เกียรติลือเดช และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขาดนัดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีณาพร สำอางศรี. (2 มีนาคม 2560). แนวคิดทฤษฎีการจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/TuncU
สุธาทิพย์ จันทรักษ์. (2560). การมีส่วนร่วมของแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพในการขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบลจัดการสุขภาพ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 13 (2), 67-74.
สุวิมล อาจณรงค์. (2564). ข้อมูลสุขภาพอำเภอแหลมงอบ. ตราด: โรงพยาบาลแหลมงอบ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.