การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างธรรมาภิบาล, หน่วยงานทางการศึกษา, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 60 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่มย่อยในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหาเพื่อสรุปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 1) ด้านงานวิชาการ 2) ด้านงานบุคลากร 3) ด้านงานงบประมาณ และ 4) ด้านการบริหารทั่วไป 2. รูปแบบการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิพบแนวทางที่สนับสนุนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า 3. องค์ความรู้จากการวิจัยซึ่งเป็นแนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิพบว่า สภาพปัญหาและอุปสรรคในหน่วยงานทางการศึกษาสามารถจำแนกเป็น 4 ด้าน ทำให้เกิดแนวทางการสนับสนุนหลักธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 6 ประการ อันเป็นรูปแบบการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิให้มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
References
จุมพล หนิมพานิช. (2549). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่: หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชาติตระกูล เจริญภักดี. (2553). ธรรมาภิบาลในการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดเชียงราย. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรยุทธ บุญมี. (2541). สังคมเข้มแข็ง ธรรมรัฐแห่งชาติ ยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2549). ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.
นันทพล พงศธรวิสุทธิ์. (2548). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศากร ช่างสุวรรณ. (2553). การใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลตามทัศนของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานการวิจัย. สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
บุญยิ่ง ประทุม. (2551). พัฒนาการการบริหารงานตามหลักความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสามยอด จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). รายงานการวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา (ม.ป.ป.). การเสริมสร้างธรรมาภิบาลให้เป็นวัฒนธรรมในองค์กร. เอกสารประกอบการบรรยาย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวิณี ชินคำ. (2548). รูปแบบการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อภิชัย แก้วกรุณา. (2555). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1 (2), 125-138.
อริศรา ขาวพล. (2552). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. ภาคนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Neuman, W. L. (2006). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches, 6th ed. Boston: Pearson International Edition.