การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหาทิวากร ขัติยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการ, แหล่งท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตำบลเมืองก๋าย 2) เพื่อส่งเสริมการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลเมืองก๋าย และ 3) เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ประกอบการและประชากร จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มแล้วนำมาสรุปเป็นประเด็น

ผลการวิจัย พบว่า 1. ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวตำบลเมืองก๋าย เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้ แม่น้ำลำธาร มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมและการแสดงพื้นบ้านของชุมชนชาติพันธุ์ แหล่งท่องเที่ยวดอยม่อนเงาะและไร่ชาลุงเดช ที่มีรูปแบบต่างกัน แต่ศักยภาพในการจัดการเหมือนกัน แหล่งท่องเที่ยวทั้งสองได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวงและได้นำองค์ความรู้ส่งต่อให้ชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพและรายได้ดูแลครอบครัว เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน 2. การส่งเสริมและการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตำบลเมืองก๋าย ประกอบด้วย 6 ประเด็น ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการ 2) การส่งเสริมการดูแลรักษา 3) การจัดการ 4) วิธีการจัดการด้านการปรับปรุง 5) การจัดการด้านกฎระเบียบ 6) การประชาสัมพันธ์ และ 3. การเสริมสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวพบว่า 1) การใช้สื่อออนไลน์ในการประชาสัมพันธ์เครือข่าย 2) การใช้กิจกรรมในการสร้างเครือข่ายภายในชุมชน 3) การสร้างเส้นทางท่องเที่ยว 4) การเชื่อมความสัมพันธ์กับเครือข่าย 5) วิธีการดูแลรักษา และอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนต่อไป องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวตำบลเมืองก๋าย เป็นการสร้างเครือข่ายการรับรู้ อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม รักษาทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นฐานทรัพยากรชุมชน โดยไม่ขัดต่อจริตและวิถีชีวิตของคนในชุมชน นอกจากนั้น ยังสร้างรายได้ อาชีพ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชุมชน

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2561- 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงวัฒนธรรม.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D01Feb2017150134.pdf

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). เเผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560-2564, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จิตกวี กระจ่างเมฆ และสุดหล้า เหมือนเดช. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ไทยแลนด์ 4.0: กรณีศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลาวครั่งบ้านทุ่งผักกูด ไทยทรงดำ บ้านไผ่หูช้างและไทยจีนตลาดบางหลวง. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นันทรัตน์ ทองมีเพชร. (2553). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษาชุมชนลีเล็ด ตำบลลีเล็ด อำเภอหพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นุชประวีร์ ลิขิตอรุณ และคณะ. (2562). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิจิตร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 14 (1), 28-41.

ปุณยวีร์ วิเศษสุนทรสกุล และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 10 (3), 22-33.

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26 (1), 63-74.

ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร และคณะ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9 (1), 234-259.

สัญญา สะสอง. (2563). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมู่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (1), 35-46.

สุถี เสริฐศรี. (2557). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุมาลี นันทศิริพล. (2560). พฤติกรรมการใช้บริการและการรับรู้กระบวนการให้บริการในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 13 (1), 1-32.

เสาวคนธ์ ฟรายเก้อ. (2562). แนวทางพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษากลุ่มเขาออกการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

หทัยภัทร ก้งเส้ง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการท่องเที่ยวบ้านเกิดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (3), 48-64.

อดิเทพ ครุฑธามาศ. (2562). ศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. การจัดการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2561. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วันที่ 6 มิถุนายน. หน้า 306.

#364_10 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-16