ผลกระทบของการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษานิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • พิชญ์สินี เสถียรธราดล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นริศา ไพเจริญ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กมลาวดี บุรณวัณณะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ผณินทรา ธีรานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิไลวรรณ จักร์แก้ว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การเรียนออนไลน์, สถานการณ์แพร่ระบาด, โควิด-19, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเรียนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 ของนิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตและศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับปานกลาง โดยจำแนกเป็นผลกระทบด้านประโยชน์ที่ได้รับ พบน้อยที่สุดด้วยค่าเฉลี่ย 2.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.91 ด้านเนื้อหาพบว่า นิสิตได้รับผลกระทบมากเป็นอันดับสองด้วยค่าเฉลี่ย 2.89 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.90 และด้านทัศนคติและพฤติกรรมการเรียนพบว่า นิสิตได้รับผลกระทบมากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยรวม 3.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมเท่ากับ 1.91 นอกจากนั้นพบว่า ผลกระทบเหล่านี้จากความไม่พร้อมด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตและสัญญาณดาวเทียม ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบด้านประสิทธิภาพในการรับข้อมูลหรือรับรู้บทเรียนที่เรียน และไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้เท่ากับการเรียนในห้องเรียนปกติ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ รูปแบบการเรียนออนไลน์สามารถแก้ปัญหาด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19 ได้มากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน ผู้สอน สถาบันการศึกษา สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมสำเร็จรูป ตลอดจนเนื้อหาของรายวิชา ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ 1) หน่วยงานด้านการสื่อสารและการศึกษาที่จะต้องแก้ปัญหาด้านการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ การให้บริการด้านสัญญาณและโปรแกรมที่ผู้เรียนผู้สอนสามารถเข้าถึงได้ 2) ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนออนไลน์ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาและส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนด้านบวกของผู้เรียน 3) ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับความจำเป็นของสถานการณ์และมีวินัยในตัวเอง

References

กรรณิดา ทาระหอม. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้เทคนิค 6Ts เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10 (1), 79-93.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (17 เมษายน 2564). ประกาศสํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ 4). สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.ops.go.th/main/index.php/news-service/announcement/3260-covid-20

กระทรวงศึกษาธิการ. (12 พฤษภาคม 2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563, จาก https://zhort.link/ipK

จิรภา อรรถพร และประกอบ กรณีกิจ. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงรุกออนไลน์เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 9 (4), 122-136.

มติชนออนไลน์. (22 เมษายน 2563). วิจัยชี้ครูไม่พร้อมสอนออนไลน์เฉียด 50% นักเรียนพร้อมแค่ 45% ไม่มี ‘คอมพิวเตอร์-เน็ต’ เกินครึ่ง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_2148365

เยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเริญกุล. (23 มิถุนายน 2555). ประวัติของ e-Learning. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563, จาก https://www.gotoknow.org/posts/18685

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14 (34), 285-298.

ศักดา สุจริต. (2558). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามกระบวนการเรียนรู้ของ กาเย่ เรื่องการออกแบบสารเพื่อการจำ รายวิชาการออกแบบสาร สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (24 เมษายน 2563). ผลการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19: ด้านสังคม (ระหว่างวันที่ 13-19 เมษายน 2563). สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/2563/p28-04-63.aspx

สิริพร อินสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22 (2), 203-213.

สุวัฒน์ บันลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11 (2), 250-260.

อรรถโกวิท จิตจักร. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของกาเย่เสริมด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Allington, R. (2002). What I've Learned about Effective Reading Instruction: From a Decade of Studying Exemplary Elementary Classroom Teachers. Phi Delta Kappan. 83 (10), 740-747. DOI:10.1177/003172170208301007

Shelley, D., et al. (2008). Online vs In-Class Teaching: Comparing and Analyzing Effectiveness. In McFerrin, K., Weber, R., Carlsen, R. & Willis, D. (Eds.), Proceedings of SITE 2008-Society for Information Technology & Teacher Education International Conference (pp. 724-731). Nevada, USA: Association for the Advancement of Computing in Education (AACE).

Zhang, D., et al. (2004). Can e-Learning Replace Classroom Learning? Communications of the ACM. 47 (5), 75-79. DOI:10.1145/986213.986216

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-04