กาแฟป่าอินทรีย์: รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาสร้างสรรค์ บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นของวิสาหกิจกาแฟชุมชนบ้านป๊อก อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
กาแฟ, กาแฟป่าอินทรีย์, นวัตกรรมภูมิปัญญา, ทรัพยากรท้องถิ่น, วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพการณ์ และปัจจัยในการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญากาแฟป่าอินทรีย์ (2) เพื่อหาแนวทางการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (3) เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญากาแฟป่าอินทรีย์ของวิสาหกิจกาแฟชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือ บ้านป๊อก อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน 35 คน คัดเลือกแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณาความ
ผลการวิจัย พบว่า (1) วิสาหกิจกาแฟชุมชนบ้านป๊อก ดำเนินกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนในด้านการปลูกและแปรรูป โดยใช้ภูมิปัญญาการคั่วและบดด้วยมือ ซึ่งพบว่า นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและสร้างสรรค์ (2) แนวทางการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ควรมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่คงอัตลักษณ์ร่วมสมัย รวมทั้งการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์มาใช้ในการตลาดให้มากขึ้น (3) รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญากาแฟป่าอินทรีย์ ประกอบด้วยการนำทุนทางสังคมมาใช้ การจัดการความรู้ด้วยการเพิ่มมูลค่า การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวิสาหกิจ และการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ องค์ความรู้ในการวิจัย คือ วิสาหกิจชุมชนควรมีการดำเนินการแบบองค์รวมระหว่างการบริหารจัดการในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญาที่พร้อมรับกับการแข่งขันอย่างยั่งยืน
References
กาญจนา รัตนธีรวิเชียร และฐานันดร์ โต๊ะถม. (2560). การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผ้าถักโครเชต์หนองนาวด้วยกลไกการมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 12 (2), 39-52.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการวิจัย. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7 (2), 79-92.
ธีระวัฒน์ จันทึก และคณะ. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่มีอัตลักษณ์ สำหรับยกระดับศักยภาพการบริหารวิสาหกิจชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนหมู่บ้านไทยมุสลิม. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
บุรินทร์ เปล่งดีสกุล และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแม่สมศรี ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), 206-230.
ภานุมาศ แสงประเสริฐ และคณะ. (2558). การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนแม่ปูคา ตำบลแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
มูลนิธิโครงการหลวง. (2560). โครงการหลวงกับในหลวง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการหลวง.
ลำยอง ขนาบแก้ว และคณะ. (2559). การศึกษารูปแบบการพัฒนากระบวนการผลิตกาแฟคั่วบดมือ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดของกาแฟคั่วบดมือบ้านไร่ใน หมู่ที่ 7 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.
สรวงพร กุศลส่ง. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมุกบ้านติ้วเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
สำนักงานเกษตรจังหวัดสระบุรี. (ม.ป.ป.). ความหมายวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.saraburi.doae.go.th/visahakit/visahakit.html
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ออน. (ม.ป.ป). บ้านป๊อก: หมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมล้านนา. เชียงใหม่: โครงการหมู่บ้านอัตลักษณ์หัตถกรรมเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่.
Chumkate, J. (2015). A Study on the Management Potential with Creative Economy-based Concept of Restaurant Entrepreneurs around Seaside Tourist Attractions in Thailand. Journal of Global Academic Institute Business and Economics. 1 (2), 84-91.
Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Georgia State University.