เจตจำนงเสรีมีจริงหรือแค่สิ่งลวงตา

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดธันรบ โชติวํโส (วงศ์ษา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ (วงค์ใส) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

เจตจำนงเสรี, เสรีภาพ, พุทธปรัชญา, ความมีอยู่, สิ่งลวงตา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัญหาเรื่องเจตจำนงเสรีระหว่างแนวคิดของฮอบส์กับซาร์ต และวิเคราะห์แนวคิดเจตจำนงเสรีในพุทธปรัชญาเถรวาท จากการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดของฮอบส์อยู่ในกลุ่มนิยัตินิยมที่มีลักษณะแบบจักรกลนิยม โดยเห็นว่า มนุษย์เปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ทำงานตามกฎเกณฑ์หรือตามสภาพแวดล้อม มนุษย์จึงไม่มีเจตจำนงเสรี เพราะการตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ เกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่มีเหตุชักนำก่อนเสมอ 2) แนวคิดของซาร์ตอยู่ในกลุ่มอิสรวิสัยที่แตกต่างกับฮอบส์ โดยมองว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรีที่จะเลือกทำสิ่งใดก็ได้ตามเจตจำนงของตน แต่จะต้องรับผิดชอบต่อการใช้เสรีภาพของตน โดยไม่กระทบต่อเสรีภาพของคนอื่น ส่วนพุทธปรัชญาเถรวาทเข้ากันได้กับทั้งสองแนวคิดนี้ โดยมีหลักเจตนาเป็นตัวเริ่มต้นของกฎแห่งกรรม คือ หากมนุษย์มีความตั้งใจ เลือกที่จะคิด พูด ทำอย่างเป็นอิสระก็แสดงว่า มนุษย์มีเจตจำนงเสรี สอดคล้องกับปรัชญาของซาร์ต องค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ คือ พุทธปรัชญาเถรวาทมีแนวโน้มเป็นปัจเจกนิยม โดยอธิบายว่า มนุษย์มีเสรีภาพในวิถีของตนที่เห็นว่า เป็นประโยชน์ต่อตนเองในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยเน้นการเตือนตนเองและพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันแนวคิดของฮอบส์สอดคล้องกับคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทตามหลักการที่ว่า “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี” เสมือนตอกย้ำว่า มนุษย์ไม่มีเจตจำนงเสรี ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างลอย ๆ สรรพสิ่งอิงอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นคำอธิบายสภาพจิตใจที่ผลักดันให้มนุษย์ คิด พูดและทำ จึงไม่มีเจตจำนงเสรีในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2534). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชเอิญศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2549). ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2553). พุทธปรัชญา: มิติการมองโลกและชีวิตตามความจริง. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

นฤมล มารคแมน. (2561). หลักพุทธจิตวิทยาเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปานทิพย์ ศุภนคร. (2546). ปรัชญาเอกซิสเตนเชียลลิสต์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). เปรียบเทียบความคิดพุทธทาส–ซาตร์. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

พินิจ รัตนกุล. (2534). ปรัชญาชีวิตของฌอง-ปอล ซาร์ตร์. กรุงเทพมหานคร: สามัญชน.

พุทธทาสภิกขุ. (2549). อิทัปปัจจยตา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 17, 25, 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2550). มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Hobbes, T. (2017). Leviathan. London: Collins Clear-Type Penguin Books Ltd.

Sartre, J. P. (2003). Being and Nothingness: A Phenomenological Essay on Ontology. New York: Simon & Schuster.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-02