การจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดชัยณรงค์ อทินฺโน (พัฒนพร้อมสุข) หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

การจัดการสภาพแวดล้อม, การดำรงชีวิต, ผู้สูงอายุ, ชุมชนยายชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ 2. เพื่อนำผลการศึกษามาปรับปรุงแก้ไขให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ 3. เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะและการสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาและสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนทั้งสามกลุ่ม คือ 1) กลุ่มติดสังคม 2) กลุ่มติดบ้าน และ 3) กลุ่มติดเตียง ซึ่งต้องพัฒนาใน 7 ด้าน คือ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านความรู้ ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจและด้านค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง 2. การนำผลการศึกษาด้านสภาพแวดล้อมมาปรับปรุงแก้ไขให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมเรื่องสัปปายะ 7 ร่วมกับการส่งเสริม “กิจกรรมสุขภาพดี เริ่มต้นที่ตัวเรา” 3. การเสนอรูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนยายชาเป็นรูปแบบที่อาศัยการพัฒนาคุณภาพของผู้สูงอายุทั้ง 7 ด้าน โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักสัปปายะ 7 ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เรียกว่า หลักการดูแลสุขภาพตามวิถีธรรมะ สัปปายะ 7 องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย คือ 1. ด้านการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุตามสภาพแวดล้อมเป็น 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มสีเขียว-ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม (2) กลุ่มสีเหลือง-ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน (3) กลุ่มสีส้ม-ผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง 2. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้ง 7 ด้าน ตามหลักสัปปายะ 7 3. ด้านรูปแบบการจัดการสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต้องอาศัยการพัฒนาคุณภาพทั้ง 7 ด้าน ให้สอดคล้องกับสัปปายะ 7 โดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ

References

คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม. (2558). แผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม (พ.ศ. 2558-2564). นครปฐม: คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ผู้สูงอายุจังหวัดนครปฐม.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

นอรีนีตะหวา และปวิตร ชัยวิสิทธิ์. (2559). การจัดการสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 5 (1), 31-39.

รติมา คชนันทน์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วรชาติ พรรณะ. (2556). สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุ แยกตามกลุ่มอายุในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุจริต สุวรรณชีพ. (2554). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต.

สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์. (2545). การพัฒนาเครือข่ายชุมชนตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (16 มิถุนายน 2554). สร้างเสริมสุขภาพใจผู้สูงวัยเป็นสุข. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://bit.ly/3F7pUKs

สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุและสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. (2555). มาตรฐานบ้านพักผู้สูงอายุ. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

#364_11 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17