การพัฒนาครอบครัวศีล 5 ต้นแบบในชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูทักษิณานุกิจ (พิทยา ปริญฺญาโณ) หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • พระปลัดประพจน์ สุปภาโต หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • พระมหาประกาศิต สิริเมโธ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

ครอบครัว, ศีล, ศีล 5 ต้นแบบ, ชุมชนยายชา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักศีล 5 2. เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักศีล 5 ในระดับครัวเรือนของชุมชน 3. เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาครอบครัวศีล 5 ต้นแบบในชุมชน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อยและการสังเกตพฤติกรรม จากนั้น จึงวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนาและสรุปผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักศีล 5เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนปฏิบัติตนอยู่ในศีล 5 ด้วยการจัดกิจกรรมให้วัดเป็นศูนย์กลางโดยเน้นการจัดกิจกรรมด้วยกลไก 4 ส. 2. การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักศีล 5 ระดับครัวเรือน เป็นกิจกรรมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว ชุมชน วัด สถานศึกษา หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมเยาวชนตามหลักไตรสิกขา คือ 1) ศีล 2) สมาธิ 3) ปัญญา 3. การนำเสนอกระบวนการพัฒนาครอบครัวศีล 5 ต้นแบบ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านร่างกาย 2) การพัฒนาด้านจิตใจ 3) การพัฒนาด้านความสัมพันธ์ในสังคม 4) การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อการสร้างจิตสาธารณะในการรักษาสิ่งแวดล้อมของชุมชน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การจัดการศึกษาให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการและหลักการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนาในเรื่องศีล 5 เมื่อกระทำอย่างต่อเนื่องจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง มั่นคงอย่างยั่งยืน

References

เกื้อ วงศ์บุญสิน. (2538). ประชากรกับการพัฒนา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โครงการรักษาศีล 5. (4 กันยายน 2557). ชุมชนวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ดำเนินวิถีชีวิตตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก https://www.sila5.com/news/news/detail/var/34s294w2v294z2

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2541). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. ใน เอกสารประกอบการศึกษาวิชา สค. 651 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระเทวินทร์ เทวินฺโท.(2544). พุทธจริยศาสตร์จริยศาสตร์และจริยธรรม. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง.

พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร. (2561). ปราชญ์ป่า: กระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2541). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน: ศึกษาเฉพาะกรณีการฆ่าสัตว์. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2545). จิตวิทยาพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 3. ชีวาภิวัฒน์.

วงศกร เพิ่มผล. (2555). ศีล 5 มิติอารยธรรมสากล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ: กรณีศึกษากลุ่มเด็ก/เยาวชนและข้าราชการภาครัฐ. รายงานการวิจัย. กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.

องค์การบริหารส่วนตําบลยายชา. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาก http://yaicha.go.th/public/list/data/detail/id/41/menu/290/catid/14/page/

#264_8 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-03