การพัฒนาทักษะภาษาจีนเพื่อการทำงาน สำหรับพนักงานนวดแผนไทย

ผู้แต่ง

  • สิริรัตน์ วาวแวว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ทักษะภาษาจีน, ภาษาจีน, งานบริการ, พนักงานนวดแผนไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย 2) เพื่อสร้างคู่มือภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย และ 3) เพื่อพัฒนาทักษะภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้บริการการนวดแผนไทยในจังหวัดลำปาง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย 2) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทย สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้อมูลและวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยคสนทนาที่ใช้บ่อยในการนวดแผนไทย สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 18 หมวด 2) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของคู่มือเพื่อหาค่าสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ผลรวมคะแนนเท่ากับ 3 ดังนั้น ค่า IOC แสดงให้เห็นว่า คู่มือมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องและความเชื่อถือได้ และ 3) ความพึงพอใจของผู้อบรมที่มีต่อเอกสารประกอบการอบรม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.76; S.D.=0.46) และผลการเปรียบเทียบทักษะภาษาจีนในการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทยพบว่า คะแนนทักษะภาษาจีนของผู้เข้าอบรม ในระหว่างก่อนการอบรม (gif.latex?\bar{X}=5.2; S.D.=1.03) และหลังการอบรม (gif.latex?\bar{X}=8.90; S.D.=1.20) มีค่าสถิติ T-test เพิ่มสูงขึ้น แสดงให้เห็นพัฒนาการในการเรียนที่ดีขึ้น องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การสร้างคู่มือภาษาจีนเพื่อการทำงานสำหรับพนักงานนวดแผนไทยที่สามารถนำไปประยุกต์สร้างสื่อรูปแบบอื่นเพื่อเพิ่มศักยภาพตนเองและเผยแพร่ให้แก่ผู้ที่สนใจ

References

กรุงเทพธุรกิจ. (13 ธันวาคม 2562). 'นวดแผนไทย' ขึ้นทะเบียน ‘ยูเนสโก’ เป็นมรดกวัฒนธรรมฯ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://bangkokbiznews.com/news/detail/858092.

ณาษยา อํ่าขํา และคณะ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พสุนิต สารมาศ และคณะ. (2551). ศึกษาหมอนวดแผนไทย: ผู้ให้บริการส่งเสริมสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ภูเทพ ประภากร. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนกลางโดยใช้กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “Local and Global Sustainability: Meeting the Challenges and Sharing the Solutions”. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วันที่ 20 มีนาคม. หน้า 1053-1063.

สนม ครุฑเมือง. (2549). การเขียนเชิงวิชาการ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุดารัตน์ วงศ์กระจ่าง. (2562). การศึกษาข้อผิดพลาดในการอ่านออกเสียงสัทอักษรภาษาจีนกลางของผู้เรียนชาวไทย. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม: การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วันที่ 5-6 สิงหาคม. หน้า 373-386.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอน. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

สุวพิชญ์ ตั๋นต๊ะพันธ์. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้ใหญ่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 11 (1), 20-34.

อทิติยา สวยรูป. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยใช้เทคนิค STAD. รายงานการวิจัย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน.

TAT Review Magazine. (ม.ป.ป.). Crazy Rich Chinese Travelers นักท่องเที่ยวจีนรุ่นใหม่ ใช้จ่ายสูง. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://gg.gg/v6ga6

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-20