การรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้: กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • บุญยิ่ง ประทุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การรวมกลุ่ม, การสร้างเครือข่าย, เครือข่ายการเรียนรู้, จังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มแกนนำและผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า (1) ยุคแรก (พ.ศ. 2546-2549) เน้นการประชุมและการคุยปรึกษาหารือกันระหว่างกลุ่มอาชีพว่า ควรผลิตสินค้าภาคเกษตรที่หลากหลาย (2) ยุคเรียนรู้ (พ.ศ. 2550-2553) เน้นเรียนรู้ลงมือปฏิบัติ นำไปปรับใช้และขายกันเองภายในชุมชน เน้นการใช้แผนแม่บทชุมชนและประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจแบบพอเพียง วิถีการผลิตในชุมชน ให้ทุกคนเรียนรู้ในสิ่งที่อยากรู้จนได้ข้อมูลกำหนดทิศทางการปฏิบัติ เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ จากประสบการณ์ วิชาการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพผนวกความรู้สมัยใหม่กับภูมิปัญญา (3) ยุคเครือข่าย (พ.ศ. 2554-ปัจจุบัน) มีการสรุปการเรียนรู้และประสบการณ์บนพื้นฐานวิถีชีวิต จัดเก็บองค์ความรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้หรือการเรียนรู้จากภายใน ถ่ายทอดประสบการณ์ไปภายนอกเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน สร้างงานและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้กระบวนการทำงานแบบ CCE ได้แก่ ชุมชนคิดร่วมกัน (C) โดยเน้นการประชุมและปรึกษาหารือกัน ชุมชนนักปฏิบัติ (C) โดยเน้นเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง และการขยายผลเป็นความรู้ (E) เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ทั้งนี้ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เข้าใจหลักปฏิบัติ ใช้วิธีการพัฒนาที่ดีที่สุดและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดตามความสามารถ ประสบการณ์และวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

References

กิติชัย รัตนะ. (ม.ป.ป.). การสร้างกลุ่มและเครือข่ายในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะกรรมการพัฒนาเทศบาลตำบลเขาพระ. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลตำบลเขาพระ. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเทศบาลตำบลเขาพระ.

จำเนียร ชุณหโสภาค และคณะ. (2563). การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในสังคมพหุวัฒนธรรมของผู้นำรุ่นใหม่สู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 9 (2), 1-15.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39 (1), 113-129.

ณปภัช จันทร์เมือง และคณะ. (2561). ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุยางพาราแปรรูป อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 10 (5), 351-364.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2560). การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการวางแผนจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: โครงร่างการวิจัยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). ทางรอดหรือทางล่ม: ประวัติศาสตร์ชุมชนยุคหลังเหตุการณ์วาตภัย (ปี พ.ศ. 2505-2525) กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6 (5), 43-52.

ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. (2553). การออกแบบการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระอัคคะจาระ และคณะ. (2563). การพัฒนาชุมชนตามหลักของพระชิตะกู ชยาดอ ญาณิสสาระ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 9 (4), 114-126.

พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). การพัฒนาองค์กรชุมชน. นครปฐม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ภฤศสร ฤทธิมนตรี ซีมิค และคณะ. (2560). โครงข่ายการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตําบลเขาพระ อําเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 10 (1), 11-19.

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์ และธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2561). พัฒนาการและเงื่อนไขของการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายชุมชนตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (4), 22-40.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2554). สมัชชาเครือข่ายองค์กรชุมชน สานพลังชุมชนท้องถิ่นและภาคีสู่การจัดการตนเองและการประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ครั้งที่ 1/2554. กรุงเทพมหานคร: วิสคอมเซ็นเตอร์.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ม.ป.ป.). ประวัติอำเภอพิปูน. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564, จาก https://district.cdd.go.th/phipun/about-us/.

Center for Educational Innovation (CEI). (n.d.). Constructivism. Retrieved January 23, 2021, from http://www.buffalo.edu/ubcei/enhance/learning/constructivism.html

Swanson, A. and Holton, E. F. (2001). Foundations of Human Resource Development. San Francisco: Barrett-Koehler Publishers.

#JSBS #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #264_4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-05