การบริหารสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ. 2560: ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ผู้แต่ง

  • อเนก สุขดี วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เสนีย์ คำสุข คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารพรรคการเมือง, สาขาพรรคการเมือง, กฎหมายพรรคการเมือง, พรรคการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารสาขาพรรคการเมือง ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารสาขาพรรคการเมืองภายใต้กฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ. 2560 โดยการสัมภาษณ์กรรมการสาขาพรรค สมาชิกพรรคและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวกับแนวคิดการมีส่วนร่วม การบริหาร การสร้างเครือข่ายทางสังคมและระบบอุปถัมภ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) สาขาพรรคการเมืองส่วนใหญ่บริหารโดยคณะกรรมการสาขาพรรคการเมือง ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าสาขาและกรรมการสาขาพรรคการเมือง ตามจำนวนที่กำหนดในข้อบังคับพรรคซึ่งไม่น้อยกว่า 7 คน ทั้งนี้ สาขาพรรคการเมืองจะดำเนินกิจกรรมเฉพาะในช่วงที่มีการเลือกตั้งและการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสาขาพรรค โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความเป็นญาติหรือพวกพ้องมาบริหารสาขาพรรค เพราะรู้สึกเชื่อใจและทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น 2) สาขาพรรคการเมืองประสบปัญหาในการบริหาร เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากพรรคสำนักงานใหญ่ ความไม่พร้อมด้านงบประมาณและการจัดหาบุคลากรเข้าเป็นสมาชิก 3) ข้อเสนอแนะ คือ การบริหารสาขาพรรคการเมืองต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสำนักงานใหญ่ควรสนับสนุนด้านงบประมาณและเปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมอย่างกว้างขวาง องค์ความรู้ใหม่ คือ 1) สาขาพรรคการเมืองมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำรงอยู่ของพรรคการเมือง โดยสาขาพรรคการเมืองที่ศึกษาล้วนแต่ดำเนินการจัดตั้งและพยายามจัดตั้งสาขาพรรคให้เป็นไปตามกรอบของกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ. 2560 และ 2) ข้อค้นพบการบริหารสาขาพรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพนั้นมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ บุคลากรและงบประมาณ

References

เจษฎา ทองขาว. (2556). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสาขาพรรคการเมือง. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์. 2 (2), 37-55.

นาง ก. (2563). หัวหน้าสาขาพรรครวมพลังประชาชาติไทย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 26 กันยายน.

นาง ข. (2563). รองหัวหน้าสาขาพรรคประชาธิปัตย์ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์. 13 ตุลาคม.

นาง ง. (2563). หัวหน้าสาขาพรรคพลังปวงชนไทย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

นาง ต. (2563). พนักงานการเลือกตั้งชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์. 26 สิงหาคม.

นาย ข. (2563). กรรมการสาขาพรรครวมพลังประชาชาติไทย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์. 8 ตุลาคม.

นาย ค. (2563). กรรมการสาขาพรรคพลังปวงชนไทย อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ. สัมภาษณ์. 27 ตุลาคม.

นาย จ. (2563). สมาชิกสาขาพรรคพลังปวงชนไทย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์. 9 ตุลาคม.

นาย ฉ. (2563). หัวหน้าสาขาพรรคประชาธิปัตย์ อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. สัมภาษณ์. 27 ตุลาคม.

นาย ช. (2563). กรรมการสาขาพรรครวมพลังประชาชาติไทย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 26 กันยายน.

นาย ซ. (2563). หัวหน้าสาขาพรรคประชาธิปัตย์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 18 กันยายน.

นาย ฌ. (2563). กรรมการสาขาพรรครวมพลังประชาชาติไทย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร. สัมภาษณ์. 26 สิงหาคม.

นาย ฎ. (2563). หัวหน้าสาขาพรรคประชาธิปัตย์ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สัมภาษณ์. 19 กันยายน.

นาย ฏ. (2563). สมาชิกสาขาพรรคพลังปวงชนไทย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์. 9 ตุลาคม.

นาย ฐ. (2563). หัวหน้างานกลุ่มงานสืบสวนสอบและพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา. สัมภาษณ์. 18 กันยายน.

นาย ฑ. (2563). พนักงานการเลือกตั้งกลุ่มงานสืบสวนสอบและพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. สัมภาษณ์. 26 ตุลาคม.

นาย ด. (2563). พนักงานการเลือกตั้งกลุ่มงานสืบสวนสอบและพรรคการเมือง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. สัมภาษณ์. 8 ตุลาคม.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. (7 ตุลาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 105 ก. หน้า 1-41.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานของสาขาพรรคการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สหายบล็อกและการพิมพ์.

เสนีย์ คำสุข และอเนก สุขดี. (2564ก). การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้กฎหมายพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (8), 309-322.

เสนีย์ คำสุข และอเนก สุขดี. (2564ข). ปัญหา อุปสรรคในการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้กฎหมายพรรคการเมือง พ.ศ. 2560. วารสาร Journal of Modern Learning Development. 6 (1), 196-209.

เสนีย์ คำสุข. (2545). พรรคการเมืองไทย: อดีต ปัจจุบันและอนาคต. ใน รุ่งพงษ์ ชัยนาม และคณะ. (บรรณาธิการ). 20 ปี รัฐศาสตร์ มสธ. รวมบทความวิชาการรัฐศาสตร์, หน้า 55-72. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อเนก สุขดี. (2556). การก่อตั้งและบทบาททางการเมืองของสาขาพรรคการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 2 (1), 72-89.

Heywood, A. (2007). Politics, 3rd ed. New York: Palgrave Macmillan.

#JSBS #MCU #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-20