บทบาทผู้นำชาวไทลื้อในการส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
บทบาทผู้นำ, ผู้นำชาวไทลื้อ, ประเพณีและพิธีกรรม, อำเภอเชียงคำบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อล้านนา 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทลื้อล้านนา และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำชาวไทลื้อในการส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 45 รูป/คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้นำฝ่ายสงฆ์ ผู้นำฝ่ายฆราวาสและผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุการณ์เพื่อนำเสนอผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการของประเพณีและพิธีกรรมทางแบ่งเป็น 3 ยุค คือ (1) ยุคที่อพยพมาจากสิบสองปันนา (2) ยุคเริ่มสร้างบ้านแปงเมืองที่เชียงคำ (3) ยุคสังคมปัจจุบัน 2) ปัญหาและอุปสรรคแบ่งเป็น 3 ประการ คือ (1) ด้านบุคคล (2) ด้านงบประมาณ (3) ปัญหาด้านการทำงาน 3) บทบาทผู้นำชาวไทลื้อ ด้านผู้นำฝ่ายสงฆ์มีบทบาทในการวางแผนและส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่วนแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมควรพัฒนาเป็นหลักสูตรและส่งเสริมการวิจัย สำหรับผู้นำฝ่ายฆราวาสมีบทบาทในการส่งเสริมให้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการและเอกชน ส่วนแนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมควรบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนอย่างเป็นระบบ องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ ปัจจัยภายใน + ปัจจัยภายนอก = ทรัพยากรในชุมชุน + ภาครัฐและเอกชนต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะและดูแล เพื่อช่วยชุมชนในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อส่งเสริมประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทลื้อให้ยั่งยืน
References
ไกรศรี นิมมานต์เหมินทร์. (2521). ล้านนาคดี. เชียงใหม่: ศูนย์หนังสือเชียงใหม่.
จารุวรรณ พรมวัง. (2536). การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมบางประการของชาวไทลื้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญามานุษยวิทยามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2544). หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม (ม.3). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
ณัฏฐวัฒน์ สุดประเสริฐ. (2555). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองที่พึงประสงค์ในยุค โลกาภิวัตน์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ผาสุก ยุทธเมธา. (2540). คติชาวบ้านกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พระครูสังฆรักษ์ประจวบ วุฑฺฒิจารี (ทุนผลงาม). (2560). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุขี ชาครธมฺโม (ศรีมาตย์). (2553). ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีฮีตสิบสอง: ศึกษากรณี ตำบลเมืองเก่าอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2551). ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท. เชียงใหม่: พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา.
รุ่งทิพย์ และยลรวี สิทธิชัย. (ม.ป.ป.). วัฒนธรรมไทลื้อ. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ศรีเลา เกษพรหม. (2544). ประเพณีชีวิตคนเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: โรงพิมพ์นพบุรี.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2545). ทฤษฎีสังคมวิทยา: เนื้อหาและแนวการใช้ประโยชน์เบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสน่ห์ จามริก. (2537). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนาในปัจจุบันของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
ไสว เชื้อสะอาด. (2538). ไทลื้อ-ล้านนาถึงสิบสองปันนา. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเชียงคำ.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2535). ไทลื้อในสิบสองปันนา. เชียงราย: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบนร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อมรา พงศาพิชญ์. (2542). วัฒนธรรม ศาสนาและชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิสรา ญาณตาล. (2549). การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมขอกลุ่มชาติพันธุ์ไท. เชียงใหม่: สำนักส่งเสริมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย.
Reddin, W. J. (1970). Management Effectiveness. Tokyo: McGraw-Hill.