การพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ปาณิสรา เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

ระบบกลไกชุมชน, ผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม 3) เพื่อพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือ ได้แก่ การศึกษาข้อมูลเอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อยและการปฏิบัติการ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 82 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป

ผลการวิจัย พบว่า 1) การดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย (1) การดูแลตามกฎหมาย (2) การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามลักษณะปัญหาของผู้สูงอายุและกิจกรรมในการที่ช่วยสร้างสุข เช่น การให้ความรู้ การออกกำลังกายตามวัย ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และปัญญา 2) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุ ได้แก่ บทบาทผู้นำเชิงนโยบายและปฏิบัติ บทบาทการสนับสนุนงบประมาณ บทบาทการประสานงาน บทบาทพลังเสริม บทบาทการจัดการเครือข่าย 3) การพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุเกิดจากปัจจัย ดังนี้ (1) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจากกลุ่มผู้สูงอายุร่วมภาคีต่าง ๆ (2) การพัฒนาหลักสูตรจากความสนใจของผู้สูงอายุสนใจเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะชีวิต (3) การออกแบบหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (4) การเสริมสร้างเครือข่าย (5) วิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ กลไกการส่งเสริมและเพิ่มพูนทักษะชีวิตเพื่อดูแลผู้สูงอายุ เกิดจากบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติเพื่อจัดการจัดสวัสดิการ/การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้สูงอายุและสร้างสุขภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และปัญญา โดยการเพิ่มทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุขด้วยการอาศัยการมีส่วนร่วม จิตอาสา พหุภาคีและเครือข่าย เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างแท้จริง

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ “เรียนรู้สังคม”. กรุงเทพมหานคร: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2552). รายงานผลการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุปี พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กานดา เต๊ะขันหมาก และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (3), 187-202.

ธีระศักดิ์ สร้อยคีรี และอัจฉรา ปุราคม. (2562). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมบทเรียนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ. Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 12 (4), 414–430.

ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์. (2560). ผู้สูงอายุที่มีความพิการ: การเข้า (ไม่) ถึงสวัสดิการสังคม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35 (3), 22-30.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2553). ตัวชี้วัดความสุข: กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2560). แผนมาดริดด้านผู้สูงอายุ: กรอบสหประชาชาติกับประเทศไทย. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 16 (2-3), 80-86.

สภาปฏิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระพัฒนาที่ 4: ระบบค่านิยม คุณธรรม จริยธรรมเพื่อความเป็นพลเมืองที่ดีและมนุษย์ที่สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์ และคณะ. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9 (1), 121-127.

สุพจน์ แสงเงิน และคณะ. (2550). วิถีไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุมาลัย วรรณกิจไพศาล. (2560). การพัฒนาการจัดรูปแบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม เทศบาลเมืองปากช่อง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 3 (2), 90-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04