การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดในล้านนา

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูโสภณปริยัติสุธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูพิศาลสรกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พิศมัย วงศ์จำปา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม, ทรัพยากรทางวัฒนธรรม, วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์, จังหวัดในล้านนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของวัดและชุมชน การพัฒนากระบวนการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนและสังเคราะห์รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดในล้านนา ดำเนินงานวิจัยโดยศึกษาเอกสาร สำรวจบริบทและทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชน ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 72 คน ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ศิลปินจิตอาสา โดยปฏิบัติการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ใน 8 จังหวัดในล้านนา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยสรุปสาระสำคัญ การจัดหมวดหมู่ การตรวจสอบความถูกต้องและการอธิบายข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของวัดและชุมชน ได้แก่ การจัดการโดยหน่วยงานภาครัฐ วัดและชุมชน รวมถึงกลุ่มเครือข่ายศิลปะพื้นบ้านและศิลปะร่วมสมัย 2) การพัฒนากระบวนการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยรูปแบบของ PAR 3Es ประกอบด้วย E1 หมายถึง การศึกษา การสำรวจและการประเมินทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน E2 หมายถึง การสร้างสรรค์และการพัฒนาศิลปะชุมชนตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชน และ E3 หมายถึง การสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมเพื่อเป็นข้อตกลงในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชน ได้แก่ รูปแบบแหล่งเรียนรู้ศิลปะชุมชน รูปแบบพื้นที่สาธารณะ รูปแบบถนนวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบพุทธศิลป์แนวไทยประเพณีและรูปแบบศิลปะเพื่อสร้างพลังชุมชน องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์เป็นกระบวนการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนมาสู่พื้นที่สาธารณะผ่านศิลปะสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชน

References

จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีวิต. (2551). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้นส์.

ธนิก เลิศชาญฤทธ์. (2554). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ณวิญ เสริฐผล. (2563). การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสังคมโลกาภิวัตน์. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (2), 313-331.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2549). การคลังท้องถิ่น: รวมบทความวิจัยเพื่อเพิ่มพลังให้ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ ลีฟวิ่ง.

พระใบฎีกาเสน่ห์ ญาณเมธี และคณะ. (2556). รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภาคเหนือ: กระบวนการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์เชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (โยธิน ฐานิสฺสโร). (2559). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: วิกฤตหรือโอกาสของวัดในล้านนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 1 (2), 135-145.

เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์. (2553). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีของชุมชนทุ่งม่าน ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. ดำรงวิชาการ. 8 (2), 31-49.

วิถี พานิชพันธ์. (2548). วิถีล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2547). การฟื้นฟูพลังชุมชนในการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์: แนวคิดวิธีการและประสบการณ์จากจังหวัดน่าน. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2548). การจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์แก่นจันทร์.

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน.

สุกรี เจริญสุข. (22 กรกฎาคม 2561). เชียงรายเมืองท่องเที่ยวที่ใช้ศิลปะนำ. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_1051145

อมรา พงศาพิชญ์. (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม: กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศวิณีย์ หวานจริง. (2561). ศิลปกรรมกระจกสะท้อนวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นบนผนังวิหารวัดท่าข้าม (วัดชัยชนะ) อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจิตรศิลป์. 9 (2), 190-237.

#264_9 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-04