การสร้างแบบฝึกการเขียนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • รพีพรรณ เพชรอนันต์กุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • รุ่งภัสสรณ์ ศรัทธาธนพัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

แบบฝึกการเขียน, การพัฒนาทักษะ, ทักษะการเขียนภาษาไทย, นักศึกษาจีน, มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกการเขียนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยรังสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาไทย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ประชากรเป็นนักศึกษาจีนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิผล (THA 220) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกการเขียนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิผล 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยนำแบบฝึกการเขียนภาษาไทยไปทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) แบบฝึกการเขียนภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพที่มีประสิทธิภาพ 77.15/79.58 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจในภาพรวมต่อชุดการสอนอยู่ในระดับมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1) การสร้างแบบเรียนการเขียนที่ตรงกับระดับความรู้ความสามารถของนักเรียนและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการเรียนการสอนทักษะการเขียนภาษาไทย 2) การสร้างแบบฝึกการเขียนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยได้ออกแบบถูกต้องตามทฤษฎีและได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญการสอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างประเทศ ทำให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการเรียนภาษาไทยในอนาคต 3) กลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาที่ตรงกับความสามารถของตนเองและสอดคล้องกับความต้องการ

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1–5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2555). ปัญหาการใช้ภาษาไทยของนักศึกษาต่างชาติ: กรณีศึกษานักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์. 31 (1), 123-139.

บันลือ พฤกษะวัน. (2533). พัฒนาการเขียนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

บุษราคัม ยอดชะลูด. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ เรื่องประเพณีไทยโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบผังกราฟิก สำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 8 (17), 46-53.

ปาริชาติ แพนบุตร. (2554). ผลของการใช้แบบฝึกเกมทางภาษาเพื่อเพิ่มทักษะการอ่านคําพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2 (2), 67-79.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2546). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ศรีวิไล พลมณี. (2545). พื้นฐานการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: ศูนย์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิวริน แสงอาวุธ. (2560). วิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนสาขาวิชาภาษาไทยในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สายสมร สุทธศิลป์. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษาถิ่นเหนือในการสื่อสาร ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสักสันเชียงใหม่วิทยาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อรทัย ขันโท. (2557). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยแบบฝึกทักษะที่ใช้วิธีการ สอนแบบทางตรง (Divest Instruction Model) สำหรับนักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Ji, Y. (2562). การสร้างแบบฝึกการใช้คำบุพบทและคำสันธานสำหรับนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยวิทยาลัยเจียวทงยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. พิฆเนศวร์สาร. 15 (1), 101-111.

Lu, G. (2557). การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

#JSBS #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ #264_3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30